จิตรกรรมฝาผนังวัดสมุหประดิษฐาราม จ.สระบุรี แสดงการแต่งกายที่ต่างกันระหว่างชาวไทยวนกับคนไทยภาคกลาง
ล้านนา หมายถึง ดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน ดินแดนแห่งขุนเขาที่มีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์ อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธ์ไทยวน ไทลื๊อ ไทเขิน ลั๊วะ ฯ ทั้งที่อาศัยอยู่มาแต่โบราณกาลและพึ่งอพยบเข้ามา อาณาจักรล้านนาจึงมีศิลปกรรม ศาสนา สังคมและวัฒนธรรมเป็นของตัวเองตลอด
จิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ แสดงวิถีชีวิตชาวบ้านกินเหล้า สูบขี้โย
- วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ “ซิ่น” ซึ่งเป็นผ้านุ่งของผู้หญิงชาวล้านนาในอดีต ในวัฒนธรรมผู้หญิงชาวล้านนานั้น ผ้าแต่ละผืนล้วนแฝงไปด้วยคติและความเชื่อตามแต่ละท้องที่ ตลอดจนถึงลวดลายต่าง ๆ บนผ้าซิ่น และตีนจกเองยังเป็นตัวสะท้อนเรื่องราวของชาวล้านนาในแต่ละพื้นถิ่นได้เป็นอย่างดี
- ในอดีตผู้หญิงชาวล้านนานั้นจะเป็นผู้ทอผ้าซิ่นด้วยตนเอง ส่วนผู้ชายชาวล้านนาเองจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการเลือกคู่ครองจากความงดงาม และความขยันขันแข็งที่สะท้อนผ่านความตั้งใจของผู้ทอผ้า โดยอาศัยการทอผ้าและผ้าซิ่นเป็นตัวบ่งบอกความเป็นแม่ศรีเรือนของผู้หญิง หากได้เป็นคู่ครองแล้ว ผู้หญิงชาวล้านนาเองยังมีหน้าที่ทอผ้าสำหรับผู้เป็นคู่ครองของตนอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผ้าซิ่นยังมีการใช้ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ อันได้แก่ พิธีกรรมทางศาสนา การร่วมงานพิธีสำคัญ เป็นต้น
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จ.น่าน หญิงสาวชาวล้านนาทอผ้าซิ่น
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จ.น่าน
- นอกจากนี้ ผ้าซิ่นจะมีการแบ่งแยกตามลักษณะการใช้งาน เมื่อต้องนุ่งสำหรับกิจวัตรทั่วไปจะนิยมใช้ซิ่นต่อตีนต่อเอวธรรมดา แต่หากมีโอกาสสำคัญผู้หญิงชาวล้านนาจะมีการต่อตีนซิ่นด้วยตีนจก ที่มีลวดลายละเอียด พิถีพิถัน มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มตน เมื่อใช้งานเสร็จจึงทำการถอดตัวซิ่นสำหรับทำความสะอาด ส่วนตีนจกจะถอดแยกเก็บไว้ต่างหาก ซิ่นตีนจกของชาวล้านนาจึงมีลักษณะพิเศษ คือ การถอดเก็บประกอบได้ โดยอาศัยการเย็บผ้าด้วยวิธีการด้นเชื่อมต่อผ้าแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ผ้าซิ่น จึงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น ตีนซิ่น
- ผู้หญิงที่เป็นชาวบ้านทั่วไปจะนุ่งผ้าซิ่นลายขวางกรอมเท้า เรียกว่า ซิ่นต่อตีนต่อเอว เป็นซิ่นสีพื้นมีลายสีเข้ม เช่น สีแดง สีส้ม และสีดำ เป็นลายขวางสลับเป็นริ้ว ขวางลำตัว ที่เชิงซิ่นมีทั้งที่เป็นลวดลายงดงาม เรียกว่า “ซิ่นต๋า” และมีทั้งแถบสีส้มสีแดงเป็นแถบใหญ่ ๆ ไม่มีลวดลาย
- ผู้หญิงชั้นสูงจะนิยมนุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า เป็นซิ่นลายขวางลำตัว ตีนซิ่นมีลายตีนจก ลักษณะคล้ายคลึงกับซิ่นตีนจกโดยทั่วไป หากจะแตกต่างกันตรงที่ มีการเลือกใช้วัสดุชั้นดีอันเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะทางสังคม อาทิ การเลือกใช้ผ้าไหมแทนผ้าฝ้าย การใช้ดิ้นเงินและดิ้นทองในการทอ เป็นต้น
- การแต่งกายท่อนบนของหญิงชาวล้านนา ยังคงใช้การห่มผ้าอย่างชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีลักษณะ “การนุ่งผืนห่มผืน” ไม่ต่างกับชาวอยุธยาในภาคกลางนัก ผู้หญิงชาวล้านนามักจะไม่สวมเสื้อ นิยมใช้ผ้าสีอ่อนพันรอบอก เรียกว่า “มัดนม” หรือใช้ผ้าคล้องคอห้อยสองชายลงมาข้างหน้าปิดส่วนอกหรือทำการห่มผ้าเฉียง ที่เรียกว่าผ้า “สะหว้ายแล่ง” หรือ “เบี่ยงบ้าย”
ห่มสไบเฉียง สะหว้ายแล่ง
ภาพผู้หญิงทำทรงผมเกล้าผมวิดว้อง
ภาพผู้หญิงทำทรงผมโก๊ะญี่ปุ่น
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือผ้าลายในสยาม – ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง
หนังสือผ้าและการแต่งกายในสมัยโบราณจากจิตรกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ – นางณัฎฐภัทร จันทวิช
หนังสือการแต่งกายไทย วิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน
TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE
>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<< เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”