คําว่า “เครื่องเขิน” หมายถึง ภาชนะ เครื่องมือ หรือ ของใช้ ที่ผลิตขึ้นโดยชาวเชียงใหม่ที่มีเชื้อสายสืบมาจากชาว ไทเขินแต่โบราณ คํานี้น่าจะบัญญัติขึ้นโดยคนไทยภาคกลาง หรือข้าราชการจากส่วนกลางที่ขึ้นมาอยู่ในภาคเหนือเมื่อ ประมาณ 100 ปีที่แล้ว เพราะว่าคำนี้มิได้ปรากฏอยู่ในภาษาพื้นถิ่นของชาวเชียงใหม่ ซึ่งชาวเชียงใหม่แต่เดิมไม่ได้มีศัพท์เรียกที่จํากัดความเฉพาะเช่นนี้มาก่อน ชาวเชียงใหม่เรียกชื่อภาชนะ ของใช้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานช่างฝีมือประเภทใด ตามลักษณะ การใช้งานมากกว่าการระบุถึงวัสดหรือเทคนิคการผลิต แม้บางครั้งอาจกล่าวถึงบ้างถ้าวัสดุนั้นเป็นของมีค่า เช่น ขันเงิน (พานทรงสูงตีจากเนื้อเงินบริสุทธิ์) หรือ แอ็บหมากคํา (ตลับใส่หมากตกแต่งด้วยโลหะทองคํา) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าภาชนะ ของใช้ในอดีตเป็นจํานวนมาก ผลิตด้วยเทคนิคและวัสดุพื้นถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นของธรรมดาๆ ไม่มีอะไรพิเศษ หรือมีราคาค่างวด มากมาย จึงไม่มีการใช้ศัพท์จําเพาะให้ชัดเจน
โดยหลักการ เครื่องเขินของชาวล้านนาส่วนใหญ่ มีโครงภายในเป็นเครื่องไม้ไผ่สาน ทาด้วยยางรักหลายๆ ชั้น สําหรับยางรักชั้นแรกๆ จะทำหน้าที่ยึดโครงสร้างไม้ไผ่ให้เกิดความมั่นคง ชั้นต่อๆ ไปเป็นการตกแต่งผิวภาชนะให้เรียบ ชั้นหลังๆ และชั้นสุดท้ายเป็นการตกแต่งใหสวยงาม เช่น ทําผิวให้เรียบเนียน การเขียนลวดลายดวยพู่กัน ขลิบด้วยการปิดทองคาเปลว หรือการขูดผิวเป็นรองลึก แล้วฝังยางรัก ผสมสีที่ต่างกันเพื่อสร้างลวดลายให้สวยงาม ละเอียดและประณีต ในอดีต เครื่องเขินที่เป็นของใช้ในครัวเรือนทั่วๆ ไป นิยมออกแบบให้มีลักษณะแข็งแรงทนทาน แต่มีนํ้าหนักเบา ดังนั้น ในวัฒนธรรมการกินอยู่จึงไม่มีเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน ที่ใหญ่และหนีกเทอะทะ เครื่องเรือนที่มีนํ้าหนักเบา เช่น เครื่องเขิน และเครื่องจักสาน จึงเป็นรูปแบบหัตถกรรมที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของชาวล้านนามากกว่างานหัตถกรรมที่มีนํ้าหนักมากๆ
คุณสมบัติสําคัญของเครื่องเขินคือมีนํ้าหนักเบา ยืดหยุ่น บิดตัวได้บ้าง ไม่แตกหักเสียหายอย่างทันทีทันใด เช่นเครื่องปั้นดินเผา วัสดุ การผลิตเป็นสิ่งทเสาะหาได้ง่ายโดยทั่วไปในท้องถิ่น และเทคนิค ประกอบกับการตกแต่งไม่สลับซับซ็อนจนเกินไป
ส่วนรูปร่างรูปทรงของเครื่องเขิน มักจะเลียนแบบจากธรรมชาติ โดยเอื้อประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งรูปทรงเหล่านี้มักจะเลียนแบบจากพืชพรรณไม้ รูปทรงจากสัตว์ รูปทรงกระบอก ทรงกลม ทรงเรขาคณิต รูปรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม รวมถึงรูปทรงที่ช่างคิดสร้างสรรค์ ทั้งลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายบัว ลานรักร้อย ลายประจำยาม ลายก้านขด ลายธรรมชาติ ตลอดจนภาพนิทานชาดก และลายสิบสองราศี
เหตุที่เรียกภาชนะที่ทำจากไม้ หรือเครื่องจักสาน แล้วทำการลงรักว่า เครื่องเขิน เพราะได้รับอิทธิมาจากชาวไทเขิน ทั้งรูปทรง ลวดลาย และกรรมวิธีการผลิต หน้าที่การใช้งาน ตลอดจนผู้ผลิตที่สืบทอดเป็นสำคัญ
เครื่องเขิน เป็นของใช้ที่ชาวล้านนานิยมเป็นอย่างยิ่งและมีการใช้ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน แม้ว่าจะลดบทบาทลงไปบ้าง ตามกาลเวลาและด้วยการมีสิ่งอื่นเข้ามาทดแทน แต่ก็ยังมีการผลิตอยู่ นอกจากในเขตเมืองเชียงใหม่แล้ว ยังมีอยู่ทั่วไปในล้านนา โดยมีโครงสร้าง ลวดลาย การตกแต่งคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยของวัสดุตกแต่ง
TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE
>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<<
เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”