
สตรีนุ่งผ้าลายอย่าง จิตรกรรมฝาผนังวัดสุทัศน์เทพวราราม
ภาพหมู่พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 แต่งพระองค์ด้วยผ้าทรงภูษา ผ้าลายอย่าง
วัฒนธรรมเครื่องนุ่งห่มของชาวสยามประกอบด้วยผืนผ้าที่ใช้นุ่งและห่มปกคลุมร่างกาย โดยไม่มีการตัดเย็บเรียกว่านุ่งผืนห่มผืน สยามเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างแหล่งผลิตผ้าแหล่งใหญ่ของโลกคืออินเดีย ทำให้มีพ่อค้านำผ้าอินเดียเข้ามาทำการค้าขายยังสยามอยู่เสมอ
เทคนิคการเขียนผ้าอินเดียรูปแบบหนึ่ง
ผ้าอินเดียสามารถบ่งบอกถึงความแตกต่างทางสังคมได้เพราะผ้าที่ใช้สวมใส่มีความประณีตงดงาม มีหน้าผ้ากว้าง สีสันสดใส ลวดลายสวยงามและวัสดุหลากหลาย เมื่อเทียบกับผ้าในสยาม ต่อมาราชสำนักสยามได้มีการออกแบบลายผ้าเองและส่งไปผลิต ยังประเทศอินเดียจึงเกิดเป็น “ผ้าลายอย่าง” คือ ผ้าที่ทางราชสำนักสยามเขียนตัวอย่างลาย ส่งไปให้ทางอินเดียผลิตให้ จากหลักฐานที่ปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัดในสมัยอยุธยาตอนปลาย ทำให้เห็นว่าผ้าลายอย่างเป็นที่นิยมในช่วงนั้นและมีธรรมเนียมการใช้เฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชสำนัก รวมถึงเป็นสิ่งของที่พระมหากษัตริย์ใช้พระราชทานแก่ผู้ทำความดีความชอบหรืออาคันตุกะคนสำคัญเท่านั้น

โครงสร้างผ้าลายอย่าง
๑. ท้องผ้า หมายถึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของผ้าบริเวณตรงกลาง

ท้องผ้า
๒. สังเวียนหรือขอบผ้า หมายถึง ลายบริเวณล้อมรอบท้องผ้าตามแนวยาว

สังเวียนหรือขอบผ้า
๓. กรวยเชิงหรือเชิงผ้า หมายถึง ลายบริเวณล้อมรอบท้องผ้าด้านกว้าง ซึ่งกรวยเชิงจะเป็นเครื่องบ่งชี้สถานะของผู้สวมใส่

กรวยเชิงหรือเชิงผ้า
- ตัวอย่างผ้าลายอย่าง

ลายหิมพานต์
ลายดาราลอยก้านขดย่อมุมไม้สิบสอง

ลายกุดั่นทรงเครื่องน้อย

ลายกุดั่นคันธวัลย์
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือผ้าลายในสยาม – ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง หนังสือผ้าและการแต่งกายในสมัยโบราณจากจิตรกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ – นางณัฎฐภัทร จันทวิช หนังสือการแต่งกายไทย วิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบันTRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE
>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<<
เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”