ก่อนที่จะมาเป็นทรงผมที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน มาทำความรู้จักแฟชั่นทรงผมเด็กไทยในอดีตกัน
วัฒนธรรมการไว้ทรงผมของเด็กไทยสมัยโบราณจะเป็นไปตามความเชื่อของผู้ใหญ่ในยุคสมัยนั้น ตามความเชื่อแล้วเชื่อกันว่าเด็กที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บไข้บ่อย ๆ จะนิยมให้ไว้ผมจุกหรือผมเปีย แล้วจะหายจากอาการป่วยนั้นได้
ภาพ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สยามกุฎราชกุมาร พ.ศ.2408” มีลายเซ็นผู้ถ่าย (J.Thomson)
ซึ่งทรงผมสำหรับเด็ก มีทั้งหมด ๔ ทรง ได้แก่
“ทรงผมแกละ” พ่อแม่จะโกนผมลูกออกเหลือไว้เป็นกระจุกที่เรียกว่า “แกละ” ซึ่งเด็กบางคนอาจมีสองแกละ สามแกละ หรือสี่แกละก็ได้ไม่ได้บังคับ
“ทรงผมจุก” ทรงนี้เป็นที่นิยมของคนมีฐานะดี เพราะดูสวย น่ารัก อีกทั้งยังมีมวยให้เสียบปิ่นทอง เงิน นากหรือคล้องพวงมาลัยได้ด้วย แต่ถ้าเป็นเด็กที่มีฐานะยากจนไม่มีเครื่องประดับ พ่อแม่จะใช้ผ้ามัดหรือถักเปียแล้วค่อยทำเป็นมวยไว้ด้านบนแทน
“ทรงผมโก๊ะ” คนโกนจะเหลือผมอยู่แค่กระจุกเดียวตรงขวัญ ส่วนบริเวณอื่นจะโกนจนเกลี้ยง
“ทรงผมเปีย” เป็นทรงที่สืบเนื่องมาจากผมแกละและผมโก๊ะ เมื่อผมปอยที่เหลือเริ่มยาวมาก พ่อแม่ก็จะถักเป็นหางเปียให้เรียบร้อยแล้วปล่อยให้แกว่งไกวตามการเคลื่อนไหวของเด็กจะไม่จับไปมวยแบบทรงผมจุก
นอกจากเรื่องความเชื่อแล้วจะพบว่าประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การให้เด็กไว้ผมยาวจะทำให้เด็กเกิดความรำคาญและดูแลรักษายาก แต่จะโกนผมออกทั้งหมดก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกลางกะโหลกศีรษะเด็กซึ่งจะเรียกกันว่า “ขวัญ” นั้นยังบอบบางจำเป็นต้องมีสิ่งปกปิดป้องกันอันตราย จึงโกนเฉพาะส่วนอื่น ๆ แล้วปล่อยส่วนกลางกระหม่อมเอาไว้
จนอายุ ๑๑-๑๓ ปี ก็จะทำพิธีโกน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าเด็กผู้นี้กำลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว
TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE
>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<<
เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”
>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<<
เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”