ปก_1575x1050

บล็อกไม้พิมพ์มือ – ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ

Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 1

“งานบล็อกไม้พิมพ์มือ” เป็นหนึ่งในเทคนิคการสร้างลวดลายผ้าที่ขึ้นชื่อในประเทศอินเดีย

เป็นเวลาหลายพันปีที่ช่างฝีมือชาวอินเดียสร้างสรรค์ภาพพิมพ์บล็อกเพื่อการตกแต่งที่น่าหลงใหลและสร้างแรงบันดาลใจไปทั่วโลก ศิลปะของการพิมพ์แบบบล็อกได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และเพื่อให้ได้คุณภาพ ผ้าพิมพ์ลายบล็อคล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ทำมือทั้งหมด และกระบวนการพิมพ์มีความยาวและซับซ้อน แต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ความไม่สมบูรณ์ของบล็อคพิมพ์ลายคือเสน่ห์ถึงความเป็นเลิศทางงานฝีมือ

Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 3

การพิมพ์แบบบล็อกเป็นรูปแบบศิลปะโบราณและดั้งเดิมในการพิมพ์บนผ้า กระดาษ และวัสดุอื่นๆ ที่มีต้นกำเนิดในอินเดียเมื่อหลายปีก่อนโดยใช้สีย้อมผักและสีธรรมชาติ ชัยปุระ เมืองสีชมพูของอินเดีย เมืองหลวงของรัฐราชสถาน เป็นหนึ่งในเมืองที่มีการวางผังเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียยุคใหม่ นอกจากความสวยงามและวัฒนธรรมดั้งเดิมแล้ว ยังมีชื่อเสียงในด้านศิลปะการพิมพ์แบบบล็อกอีกด้วย

Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 5

ศิลปะการพิมพ์แบบบล็อกแบบดั้งเดิมได้รับการฝึกฝนในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดียมานานกว่า 500 ปี การพิมพ์แบบบล็อกเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 12 และรูปแบบการพิมพ์ทางศิลปะที่หลากหลายบนผ้าเป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์และราชินี ซึ่งทำให้ศิลปะการพิมพ์แบบบล็อกเป็นที่รู้จักในฐานะผู้อุปถัมภ์ของราชวงศ์ตั้งแต่สมัยนั้น

การพิมพ์บล็อคไม้เป็นกระบวนการพิมพ์ลวดลายบนสิ่งทอ เป็นกระบวนการที่ง่ายที่สุดแต่เป็นกระบวนการพิมพ์สิ่งทอที่ช้าที่สุด

Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 7
Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 9

ความเกี่ยวข้องกับประเทศไทย

พ่อค้ามุสลิมหรือแขกมัวร์นำผ้าอินเดียจากเมืองท่าสุรัต (Surat) ในรัฐคุชราต (Gujarat) เข้ามาขายในดินแดนสยามตั้งแต่สมัยอยุธยา ธุรกิจของชาวอินเดียรุ่งเรืองมากจนมีเรือขนส่งสินค้าจากเมืองท่าสุรัตสู่ย่านตึกขาว ตึกแดง สินค้านำเข้าที่ชาวสยามนิยมคือผ้าไหม ดิ้นเงินดิ้นทอง แพรแถบ ของใช้โลหะต่างๆ เครื่องเทศ

“ผ้าอินเดีย” เป็นหนึ่งในสินค้าจากอินเดียที่ซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย ประเทศไทยอยู่ในโลกของการค้ากับอินเดีย ตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยที่อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีการติดต่อค้าขายกับผู้คนมากมายเข้ามาในสยามประเทศ เปอร์เชีย และอินเดีย ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาทำการค้าขาย โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าชาวมุสลิม ซึ่งมีบทบาทในการค้าผ้ามากพอสมควรในสมัยอยุธยา โดยพ่อค้ามุสลิมนำผ้าอินเดียจากเมืองท่าสุรัต (Surat) ในรัฐคุชราต (Gujarat)

ราชสำนักไทยในสมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้นำเข้าผ้าหลากหลายประเภทจากอินเดียเพื่อใช้ในราชสำนัก และในพระราชพิธีทำให้เกิดการแพร่กระจายของวัฒนธรรมการใช้ผ้าอินเดียมาสู่ไทย ซึ่งยังคงปรากฏหลักฐานให้เห็นจากผ้าราชสำนักในปัจจุบัน อาทิ เช่น ผ้าตาด ผ้าปัตหล่า ผ้าสุจหนี่ ผ้าเยียรบับ ผ้าอัตลักษณ์ เป็นต้น

Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 11
Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 13
ตัวอย่างลายผ้าที่มาจากอินเดีย
Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 15

ผ้าลายอย่างสยามผลิตในแถบโคโรมันเดล (Coromandel) เขียนลายด้วยมือและย้อมสีธรรมชาติ โครงสร้างลายได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิสลาม แต่ใส่เทพนม พรหมสี่หน้า และลวดลายอื่นๆ ลงไป เป็นลายอย่างไทยที่เป็นเอกลักษณ์

Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 17
ผ้าลายริ้วมัสกาตี
Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 19
ผ้าลายดอกปัทมชาติกับบล็อกไม้
Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 21
ตัวอย่างผ้าลายแก้วชิงดวงใบเทศกับบล็อกไม้
Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 23
ตัวอย่างผ้าลายคชกฤตกับบล็อกไม้

ผ้าอินเดียได้เข้ามาในประเทศไทย และได้รับความนิยมมากในราชสำนัก โดยผลิตผ้าตามลายที่สั่งทำเฉพาะ ทำเป็นบล็อกและพิมพ์ลายลงบนผ้า อาทิ ผ้าพิมพ์ลายอย่าง ถือเป็นผ้าลายพิเศษใช้ในกิจการของราชสำนักโดยเฉพาะ เนื่องจากสั่งทำและนำเข้ามาจากอินเดีย ในระยะแรกจึงเป็นผ้าที่มีลวดลายแบบอินเดีย ต่อมาทางราชสำนักได้สั่งให้ช่างหลวงออกแบบเขียนลายไทยพร้อมทั้งกำหนดสีส่งไปเป็นต้นแบบในการผลิต ผ้าพิมพ์ลายอย่างจึงถือเป็นผ้าที่แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวสยามในการออกแบบลวดลายประดับบนผืนผ้า จึงจะเห็นได้ว่ารูปแบบและลวดลายของผ้าในราชสำนัก หรือผ้าลายอย่างของไทยเอง แม้จะมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์แบบฉบับราชสำนักสยามมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระบวนลายได้รับอิทธิพลจากอินเดียซึ่งเป็นแม่แบบทางวัฒนธรรมอยู่ไม่มากก็น้อยตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษ

Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 25
ช่างที่อินเดียกำลังแกะสลักลาย
Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 27
ช่างที่อินเดียกำลังแกะสลักลาย

กว่าจะได้ผ้าลายสวย ๆ 1ผืน ต้องผ่านกระบวนการมากมาย เริ่มตั้งแต่ออกแบบลาย ร่างบนกระดาษ แกะบล็อคไม้ เลือกสีที่เหมาะสม นำบล็อคไม้ไปจุ่มสีและค่อย ๆ พิมพ์ลายลงบนผืนผ้า ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องใช้ความปราณีตมาก ๆ เพื่อให้ลายต่อเนื่องสวยงาม ดังนั้นเรามาช่วยกันนับสนุนช่างฝีมือเพื่อรับประกันความยั่งยืนของความสวยงามเหล่านี้สืบไป

Thai Style Studio 1984 บล็อกไม้พิมพ์มือ - ประวัติศาสตร์ กระบวนการ ศิลปะ การออกแบบ 29

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก www.praew.com

www.lushfabjaipur.com/blogs/lushfab-jaipur-textiles/block-printing-on-fabrics-in-india-introduction-history-process-art-designs

www.thedesigncart.com/blogs/news/hand-block-printing

TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE

>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<<

เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”

Share this post