สตรีนุ่งผ้าลายอย่าง จิตรกรรมฝาผนังวัดสุทัศน์เทพวราราม
ภาพหมู่พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 แต่งพระองค์ด้วยผ้าทรงภูษา ผ้าลายอย่าง
วัฒนธรรมเครื่องนุ่งห่มของชาวสยามประกอบด้วยผืนผ้าที่ใช้นุ่งและห่มปกคลุมร่างกาย โดยไม่มีการตัดเย็บเรียกว่านุ่งผืนห่มผืน สยามเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างแหล่งผลิตผ้าแหล่งใหญ่ของโลกคืออินเดีย ทำให้มีพ่อค้านำผ้าอินเดียเข้ามาทำการค้าขายยังสยามอยู่เสมอ
เทคนิคการเขียนผ้าอินเดียรูปแบบหนึ่ง
ผ้าอินเดียสามารถบ่งบอกถึงความแตกต่างทางสังคมได้เพราะผ้าที่ใช้สวมใส่มีความประณีตงดงาม มีหน้าผ้ากว้าง สีสันสดใส ลวดลายสวยงามและวัสดุหลากหลาย เมื่อเทียบกับผ้าในสยาม ต่อมาราชสำนักสยามได้มีการออกแบบลายผ้าเองและส่งไปผลิต ยังประเทศอินเดียจึงเกิดเป็น “ผ้าลายอย่าง” คือ ผ้าที่ทางราชสำนักสยามเขียนตัวอย่างลาย ส่งไปให้ทางอินเดียผลิตให้ จากหลักฐานที่ปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัดในสมัยอยุธยาตอนปลาย ทำให้เห็นว่าผ้าลายอย่างเป็นที่นิยมในช่วงนั้นและมีธรรมเนียมการใช้เฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชสำนัก รวมถึงเป็นสิ่งของที่พระมหากษัตริย์ใช้พระราชทานแก่ผู้ทำความดีความชอบหรืออาคันตุกะคนสำคัญเท่านั้น
ผ้าลายอย่างประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่
โครงสร้างผ้าลายอย่าง
๑. ท้องผ้า หมายถึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของผ้าบริเวณตรงกลาง
ท้องผ้า
๒. สังเวียนหรือขอบผ้า หมายถึง ลายบริเวณล้อมรอบท้องผ้าตามแนวยาว
สังเวียนหรือขอบผ้า
๓. กรวยเชิงหรือเชิงผ้า หมายถึง ลายบริเวณล้อมรอบท้องผ้าด้านกว้าง ซึ่งกรวยเชิงจะเป็นเครื่องบ่งชี้สถานะของผู้สวมใส่
กรวยเชิงหรือเชิงผ้า
ซึ่งผ้าลายอย่างสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะโครงสร้างของผ้า
- ผ้าท้องลาย คือผ้านุ่งที่มีลายทั้งส่วนท้องผ้า ขอบบนและล่างของผ้าหรือสังเวียน และลายกรวยเชิงสามชั้นหรือมากกว่าที่ชายผ้าสองข้าง
2.ผ้าทองพรรณ คือผ้านุ่งที่ไม่มีลายในส่วนท้องผ้า มีเฉพาะลายขอบบนและล่างหรือสังเวียน และลายกรวยเชิงหลายชั้น
3. ผ้านุ่งลายที่มีลายในส่วนท้องผ้า ไม่มีลายขอบบนและล่างหรือสังเวียน และมีลายกรวยเชิงชั้นเดียว
4. ผ้าลายที่มีท้องผ้าและมีลายขอบทั้งสี่ด้าน ใช้เป็นผ้าตกแต่งสถานที่ ซึ่งโครงสร้างของผ้าในแบบนี้เป็นลักษณะเดียวกับผ้าปาลัมโปร์ (Palampore) ที่อินเดียผลืตสำหรับตลาดยุโรปเพื่อนำไปใช้ตกแต่งเครืองเรือน
- ตัวอย่างผ้าลายอย่าง
ลายพุ่มข้าวบิณฑ์หิมพานต์พื้นสีขาวหม่น
ลายดาราลายก้านขดย่อมุมไม้สิบสอง
ลายกุดั่นทรงเครื่องน้อย
ลายกุดั่นคันธวัลย์
ลายพุ่มข้าวบิณฑ์เทพพนมกินรีก้านขด กรวยเชิงเทพพนมสามชั้น เชิงผ้าลายหน้ากาลสลับลายเทพพนมและนรสิงห์
ผ้าลายเทพพนมพุ่มข้าวบิณฑ์เทพรำครุฑก้านแย่งพื้นสีใบแค
ลายดาราลาย
ลายย่อมุมไม้สิบหกดอกลอยสลับย่อมุมไม้สิบสองดอกไม้สี่กลีบในรัตนโกสินทร์ตอนต้นพื้นสีกะปิ
นอกจากนี้ผ้าลายอย่างยังถูกนำมาใช้เป็นผ้าห่อคัมภีร์หรือสมุดข่อยโบราณในราชสำนักหรือในทางพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าผ้าลายอย่าง มีความสำคัญในระดับพิธีการและเป็นของที่ใช้ประดับหรือห่อหุ้มสิ่งของสำคัญนอกจากใช้สำหรับเป็นเครื่องนุ่งห่ม
ผ้าห่อคัมภีร์ลายเทพพนมพื้นขาว
ขอบคุณภาพจาก www.dmc.tv.com
ผ้าลายนอกอย่าง
ถัดมาคือ “ผ้าลายนอกอย่าง” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ผ้ามัสกาตี” ตามเอกสารโบราณกล่าวว่าเป็นผ้าที่ทำเลียนแบบผ้าลายอย่าง แต่พิมพ์ลงบนผ้าฝ้ายจากอินเดียเนื้อหยาบและฝีมือไม่ประณีตนัก ผ้าลายนอกอย่างมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวประมาณสี่หลาหรือเรียกอีกอย่างว่า หนึ่งโจงกระเบน การพิมพ์จะพิมพ์เป็นสีแต่ก็ไม่นิยมใช้สีสันมากนัก ซึ่งผ้าลายนอกอย่างสามารถนำมาใช้กับสามัญชนได้ โดยหลีกเลี่ยงกฎห้ามของราชสำนัก คือเป็นผ้าที่ออกแบบสำหรับใช้งานทั่วไป คหบดีและสามัญชนก็ใช้นุ่งห่มได้
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือผ้าลายในสยาม – ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง
หนังสือผ้าและการแต่งกายในสมัยโบราณจากจิตรกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ – นางณัฎฐภัทร จันทวิช
หนังสือการแต่งกายไทย วิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน
TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE
>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<<
เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”