IMG_3676-1

เสื้อในราชสำนัก

Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 1
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ฉลองพระองค์อย่างน้อย
ขอบคุณภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์
Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 3
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ ฉลองพระองค์ผ้าเข้มขาบ

การสวมเสื้อเป็นเรื่องพิเศษในยุคนั้น ผู้ที่ส่วมเสื้อมักได้แก่พระมหากษัตริย์ ขุนนาง ทหาร ซึ่งต้องอยู่ในพระราชพิธีหรือออกรบ เสื้อผ้าที่ใช้ในงานพระราชพิธีและโอกาสต่าง ๆ มีชื่อปรากฎเป็นหลักฐานว่ายังมีใช้มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ เสื้อเยียรบับ เสื้อปัศตู เสื้ออัตลัต เสื้อกั๊ก เสื้อกระบอก เสื้อครุย เสื้อเข้มขาบ และที่สำคัญคือเสื้อทรงอย่างน้อย เป็นต้น

Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 5
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล
ขอบคุณภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล

เสนาบดีชั้นสูงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นิยมรูปแบบการตัดเย็บตามแบบชุดของชาวเปอ์เซีย โดยตัดเย็บด้วยมือทั้งตัว คอเสื้อทำปกยกตั้งกระชับ รอบคอขัดดุมไส้ไก่ เม็ดเล็กตามแบบจีน แขนยาว ผ่าปลายแขนเป็นรูปปากฉลาม ตัวเสื้อเข้ารูปที่เอว สาปเสื้อต่อจากคอปาดเฉียงลงมาจากขวามาซ้ายจรดเสื้อด้านล่าง บริเวณขอบเสื้อทุกส่วน ตั้งแต่คอเสื้อ สาบเสื้อ ปลายแขนและชายเสื้อใช้ผ้าไหมจีน เย็บห่อเส้นเชื้อกฝ้ายขนาดเล็กทำนองไส้ไก่ เย็บกุ๊นติดรอบบริเวณดังกล่าวตลอด

Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 7
ฉลองพระองค์ของเจ้านายฝ่ายชาย
ขอบคุณภาพจาก https://th.wikipedia.org/

ขณะที่เสื้อที่ข้าราชสำนักสวมใส่เข้าเฝ้าฯ เป็นเสื้อที่ตัดแบบง่าย ๆ ด้วยผ้าขาว เรียกเสื้อลักษณะนี้ว่า “เสื้อกระบอก” ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบและได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกมาดัดแปลงแบบเครื่องแต่งกายให้มีประโยชน์ใช้สอยและมีความสวยงามเพิ่มขึ้น ในระยะแรกก็เป็นการดัดแปลงแบบตะวันตกผสมผสานกับแบบไทยดั้งเดิม เช่น ฉลองพระองค์ของเจ้านายแบบทั่วไปสำหรับเข้าเฝ้าฯ ส่วนใหญ่เป็นฉลองพระองค์ไหมพื้น พระกรยาว พระปิดศอ มีขัดดุมผ่าอก เรียก “ฉลองพระองค์อย่างน้อย”

Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 9
เสื้ออย่างน้อยจำลองตัดเย็บจากผ้าไหมอินเดีย
Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 11
เสื้ออย่างน้อยจำลองตัดเย็บจากผ้าไหมอินเดีย
Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 13
เสื้ออย่างน้อยจำลองตัดเย็บจากผ้าไหมอินเดีย

“ฉลองพระองค์อย่างน้อย” หรือ ที่เรียกอย่างสั้นว่า เสื้ออย่างน้อยนั้น จึงเป็นรูปแบบเสื้อที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเสื้อที่ใช้กันภายในราชสำนักสยาม และถูกใช้อย่างแพร่หลายภายหลัง โดยเสื้ออย่างน้อยจะถูกตัดเย็บจากผ้าไหมทอยกดิ้นสีทองเป็นลวดลายเล็ก ๆ ซึ่งมีกรรมวิธีในการทอยกดอก จะทอยกลวดลายให้นูนสูงขึ้นกว่าผืนผ้า โดยเลือกยกบางเส้นและข่มบางเส้น แล้วพุ่งกระสวยไปในระหว่างกลางด้วยดิ้นเงิน หรือดิ้นทอง ซึ่งเทคนิคในการทอยกให้เกิดลวดลายนี้ เรียกว่า “เทคนิคการยกดอก” ผ้ายกเองจึงจัดเป็นผ้าที่มีความสำคัญใช้ในคุ้มเจ้าหรือภายในพระราชสำนักเท่านั้น โดยผ้ายกที่นิยมนำมาตัดเป็นเสื้อคือ ผ้าอัตลัต ผ้าเข้มขาบ ผ้าเยียรบับ

This image has an empty alt attribute; its file name is IMG_3676-1.jpg

ผ้าเข้มขาบ – เป็นผ้าที่เอาเงินแผ่บาง กาไหล่ทอง หุ้มเส้นไหมเป็นไหมทอง ทอกับไหมสีต่าง ๆ ลายเป็นริ้ว เห็นสีทองกับสีพื้นเสมอกันไม่มากไม่น้อย ริ้วทองขึ้นเด่นกว่าผ้าอัตลัด สันนิษฐานกันว่า ตาดหรือจีนเป็นผู้คิดทอขึ้นก่อน แล้วอินเดียนำมาเป็นตัวอย่าง เรียกว่า “คำขาบ” ส่วนไทยได้มาจากอินเดีย ณ เมืองกุศหราดบางพื้นแซมเงิน

ผ้าเข้มขามมีกล่าวถึงในวรรณคดีไทยกล่าวเรื่อง ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ วังข์ทอง อิเหนา ในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระพันวษาแต่งองค์จะประพาสป่า กล่าวว่า

            “ทรงเครื่องต้นสำหรับประพาสไทย ตามพิชัยฤกษ์กำลังวัน

           สนับเพลาเชิงงอนช้อนกราย    พระภูษาเข้มขาบริ้วทองคั่น”

Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 16
ผ้าเข้มขาบเทียม
Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 18
ผ้าเข้มขาบสีแดง

ผ้าอัตลัด – เป็นเครื่องแต่งกายของเสนาบดีชายชั้นสูง ฝ่ายหน้า ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทอด้วยไหมทองหรือไหมเงินหรือ ทอแล่งกับไหมสี จกเป็นลายต่าง ๆ เป็นดอกลอยห่าง ๆ เห็นพื้นผ้ามาก ผ้าชนิดนี้นิยมนำมาตัดเป็นฉลองพระองค์ของเจ้านายและเสื้อของขุนนาง หรือนำมาทำเป็นผ้านุ่ง โดยแหล่งที่มาของผ้าชนิดนี้มาจากประเทศอินเดียหรือเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน) ทำให้นิยมตัดออกมาตามแบบชุดของชาวเปอร์เซีย โดยตัดเย็บด้วยมือทั้งตัว และใช้เทคนิค “ยก” ในการทอ วัสดุที่นำมาใช้ตัดเสื้ออัตลัด คือไหม ฝ้าย และเส้นทองแล่งย้อมสีธรรมชาติ

Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 20
การตัดเย็บชุดแบบชาวเปอร์เซียด้วยผ้าอัตลัต

ผ้าเยียรบับ – บางทีเรียกว่า ส้ารบับ ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย คือ ซ่าระบับ หมายถึง ผ้าที่ทอด้วยทองแล่งกับไหม แต่มีไหมน้อยกว่าทองแล่ง คำดังกล่าวมาจากคำว่า Zar ซึ่งแปลว่า ทอง และคำว่า Baft   ที่แปลว่า ผ้าฝ้าย หรือผ้าไหม ดังนั้นคำว่า Zarbaft จึงหมายถึง ผ้าที่ทอยกดอกเงินหรือทอง โดยมีลักษณะการทอ คือ การนำแผ่นเงินกาไหล่ทองมาแผ่บางๆ หุ้มเส้นไหม ซึ่งเรียกกันว่า ไหมทอง นำไปทอกับไหมสี ยกเป็นลวดลาย ดอกดวงเด่นชัดด้วยทอง จัดเป็นผ้าชั้นดี

Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 22
เสื้อเยียรบับ
Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 24
เสื้อเยียรบับ
Thai Style Studio 1984 เสื้อในราชสำนัก 26
ฉลองพระองค์เยียรบับ
This image has an empty alt attribute; its file name is IMG_9942.jpg
ตัวอย่างผ้าเยียรบับเทียมที่ทอจำลองขึ้นใหม่ในภายหลัง

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ชัดว่า ข้อแตกต่างของระดับชนชั้นนั้นพิจารณาได้จากลักษณะของเนื้อผ้า ลวดลายผ้า หรือความปราณีตของผ้า กล่าวคือชาวบ้านสามัญชนมักใช้ผ้าพื้นเรียบหรือผ้าเนื้อหยาบ ขุนนาง ชาววัง จะใช้ผ้าเนื้อละเอียดสอดเส้นเงินเส้นทอง ผ้าไหมทอง หรือปักดิ้น หากเป็นเสื้อผ้าของเจ้านายหรือผู้มีฐานะ เสื้อผ้าที่สวมใส่จะสะอาดเรียบร้อย มีกลิ่นอบร่ำหอมกรุ่นกว่าเสื้อผ้าของคนธรรมดา นอกจากนี้ผ้านุ่งบางชนิดยังกำหนดให้เป็นผ้านุ่งเฉพาะของขุนนางสวมใส่เวลาเข้าเฝ้าฯ จะนำไปนุ่งผิดกาลเทศะไม่ได้

-ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ การแต่งกายไทย วิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน ๑

-ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ พระภูษาผ้าทรงในราชสำนักสยาม

-ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ ผ้าลายในสยาม

-ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ ผ้าพิมพ์ลายโบราณในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

-ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ ผ้าและการแต่งกายในสมัยโบราณจากจิตรกรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE

>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<<

เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”

Share this post