ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นระยะที่บ้านเมืองกำลังฟื้นตัวจากสภาวะสงครามสงครามเเละสร้างเมืองใหม่ ชาวสยามในสมัยนั้นยังคงสืบทอดชีวิตความเป็นอยู่มาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่ว่าจะเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี กฏหมาย การปกครอง โดยเฉพาะ “การแต่งกาย” โดยทั่วไปแล้วทั้งชายและหญิงนุ่งผ้าและห่มผ้ากันเป็นหลัก กล่าวคือ นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้า ไม่นิยมสวมเสื้อ
กระบวนแห่พยุหยาตรา สมัยอยุธยาตอนปลาย จิตรกรสมัยร.๕ วาดจำลองจากวัดยม จ.พระนครศรีอยุธยา
ลงในสมุดข่อย (ภาพจาก “การแต่งกายของไทย”, ๒๕๓๒)
เอกสารของ เฮนรี่ เบอร์นี่ ครั้งเป็นราชทูตอังกฤษเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้บันทึกถึงฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์และขุนนางในขบวนแห่รับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง มีความว่า
“ข้าพเจ้าก็มองเห็นพระองค์ท่านกับวังหน้า ฉลองพระองค์แบบธรรมดาคือมีผ้าพันรอบกายเพียงชั้นเดียว”
ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ (Henry Burney)
ขอบคุณภาพจากhttps://www.findagrave.com
และมีอีกครั้งหนึ่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ ไปเยี่ยมพระยาวิเศษที่บ้าน มีความว่า
“ท่านเป็นคนตัวใหญ่ ผิวดำ อายุประมาณ ๓๘ ปี และเวลาอยู่บ้าน ท่านมักจะไม่ใส่อะไรเลยนอกจากผ้าขาวม้า มาสดราสพันรอบตัว”
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ สนธิสัญญาระหว่างสยามและอังกฤษ
ขอบคุณภาพจาก Facebook page กรุงเก่าของชาวสยาม
จากบันทึกของชาวต่างชาติดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงลักษณะการแต่งกายของขุนนางในสมัยรัตนโกสินทร์ และจากจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏตามวัดวาอารามซึ่งสร้างขึ้นในยุคต้นรัตนโกสินทร์ไม่ว่าขุนนาง ชาวบ้าน ไม่นิยมสวมเสื้อ
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณาราม ริมคลองบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี
สมัยรัชกาลที่ ๓ แสดงภาพชีวิตชาวบ้านทั้งหญิงชายที่ไม่สวมเสื้อ
ขอบคุณภาพจากwww.korbsaipraifah.com
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา
ขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา
ขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com
ภาพวาดในหอไตร วัดระฆัง สมัยรัชกาลที่ 1
(ภาพจาก “การแต่งกายของไทย”, ๒๕๓๒)
แม้แต่การเข้าเฝ้าฯ พระเจ้าแผ่นดิน ขุนนางก็จะไม่สวมเสื้อ ด้วยถือเป็นพระราชนิยมว่าไม่โปรดการสวมเสื้อเข้าเฝ้าฯ สวมได้เฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น เหมือนที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ว่า
“ถ้าฤดูหนาว เจ้าทรงเสื้อสีชั้นเดียว คาดส่านบ้าง แพรสีบ้าง ขุนนาง สวมเสื้อเข้มขาบ อัตลัด แพรสี ๒ ชั้นที่ได้ พระราชทาน เสนาบดี คาดส่าน ถ้าวันไหนไม่หนาวหรือฤดูร้อน ผู้ใดสวมเสื้อเข้ามาก็ไม่โปรด…”
ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง วัดคงคาราม จ.ราชบุรี
แสดงให้เห็นประเพณีการเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน จะสังเกตเห็นว่าขุนนางไม่สวมเสื้อ
ขอบคุณภาพจาก www.cklanpratoom.wordpress.com ถ่ายโดยคุณเอนก นาวิกมูล
การสวมเสื้อจึงเป็นเรื่องพิเศษในยุคนั้น ผู้ที่สวมเสื้อมักได้แก่ พระมหากษัตริย์ ขุนนาง ทหาร ซึ่งต้องอยู่ในพระราชพิธีหรือออกรบ
จิตรกรรมฝาผนังในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (ไม่ระบุวัด)
แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านทั่วไปจะไม่ส่วมเสื้อ ส่วนขุนนางหรือทหารจะใส่เสื้อในขณะที่ออกรบหรือปฏิบัติงาน
ขอบคุณภาพจาก สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
อีกเหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะสภาพอากาศที่ร้อนของสยามทำให้ไม่เหมาะแก่การสวมเสื้อ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่งกายตามแบบขุนนางไทยชั้นผู้ใหญ่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ตามที่ระบุไว้ในกฎมณเฑียรบาล คือ นุ่งผ้าสมปัก คาดผ้าเกี้ยวไม่สวมเสื้อ
พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ การแต่งกายจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามแบบตะวันตกหลังจากติดต่อกับยุโรปมากขึ้น รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้สวมเสื้อเข้าเฝ้าฯ สืบเนื่องจากช่วงก่อนหน้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีข้าราชการมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พลับพลาที่ประทับชั่วคราว ทรงพบว่า ข้าราชการที่เข้าเฝ้าไม่สวมเสื้อ พระองค์ทรงเห็นว่าข้าราชการในประเทศมหาอำนาจสวมเสื้อกันหมด มีเพียงแต่ชาวป่าที่ยังเปลือยท่อนบน ดังพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ตอนหนึ่งว่า
“ครั้งนั้นยังไม่มีธรรมเนียมที่จะสวมเสื้อเข้าเฝ้า จึงดำรัสว่า ดูคนที่ไม่ได้สวมเสื้อเหมือนเปลือยกาย ร่างกายจะเป็นกลากเกลื้อนก็ดีหรือเหงื่อออกมาก็ดี โสโครกนัก…”
ต่อมาพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ โปรดเกล้าฯให้มีการประกาศการแต่งกายใหม่ โดยให้ยกเลิกการนุ่งสมปักยศตามธรรมเนียมที่มีมาแต่เดิม และให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางทั้งหลายนุ่งผ้าม่วงซึ่งสั่งมาจากประเทศจีนแทนผ้าสมปัก และสวมเสื้อต่าง ๆ ตามโอกาสและเวลาเข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งหรือในการพระราชพิธี เช่นออกแขกเมืองใหญ่ พระราชพิธีโสกันต์ แต่ก็ยังคงมีข้าราชการบางกลุ่มที่นุ่งผ้าสมปักเเบบเดิมอยู่
การเข้าเฝ้าสมัยรัชกาลที่ ๔
ขอบคุณภาพจาก www.mnextnew.blogspot.com
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ: ราชภูษิตาภรณ์สยาม
TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE
>> ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio <<
เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”