ทำความรู้จักลวดลายบนผืนผ้า และประเภทของผืนผ้าที่มีความสวยงาม สำหรับการนุ่งห่มชุดไทย ที่ไทยสไตล์สตูดิโอสะสมและอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จัก โดยเฉพาะคนรักชุดไทยไม่ควรพลาด
1.ผ้าลายอย่าง คือผ้าในราชสำนักสยาม มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา โดยคำว่าผ้าลายอย่างนั้น หมายถึงผ้าที่ทางราชสำนักสยามทำการผูกลายหรือที่เรียกการเขียนลายส่งเป็นแบบแผนไปให้ทางต่างประเทศผลิต จึงเรียกว่า “ผ้าลายอย่าง”












พื้นสีตาแมวน้ำไหล










มุมไม้สิบสองดอกไม้สี่กลีบ รัตนโกสินทร์ตอนต้น พื้นสีกะปิ

ฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรค์











































เป็นช่อกรอบทแยง มีไส้ในสับหว่างด้วยลายนกคาบใบเทศ ในรัชกาลที่ 2
2.ผ้าสมปักปูม เป็นผ้าโบราณชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันในสมัยเป็นราชสำนักสยาม นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นผ้าที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานให้เป็นเครื่องยศแก่ขุนนางหรือผู้ที่รับราชการมีบรรดาศักดิ์ต่าง ๆ ใช้นุ่งตามยศ ตามตำแหน่ง ใช้นุ่งเฉพาะเวลาเข้าเฝ้าฯหรือนุ่งในพระราชพิธีที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ และใช้นุ่งเฉพาะในเขตพระราชวังเท่านั้น ซึ่งถือเป็นผ้าทอที่ทอด้วยความละเอียด ประณีตและมีคุณภาพที่


3.ผ้าท้องพรรณ “ท้องพรรณ” มีความหมายคือ ส่วนของผ้าที่อยู่ตรงกลางของผ้า เรียกท้องผ้าพรรณแปลว่า สี ดังนั้นท้องพรรณแปลว่าท้องผ้าสีหรือท้องสี เวลานุ่งจะเห็นท้องผ้าเกลี้ยง ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเรียบหรูเรียบง่าย แต่ต้องการความโดดเด่น ด้วยโทนสีโบราณ ทรงคุณค่า ผสมผสานกับลวดลายโบราณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเหมาะกับการนุ่งจีบ นุ่งโจง อย่างที่สุด





4.ผ้ายก คือ ผ้าที่ทอยกลวดลายให้นูนสูงกว่าพื้นผ้า ถ้าลวดลายทอด้วยไหมสามัญเรียกว่า “ผ้ายกไหม” แต่ถ้าลวดลายทอด้วยไหมทองเรียกว่า “ผ้ายกทอง” หลักสำคัญของการสร้างลวดลายผ้าประเภทนี้ คือ การทอเสริมเส้นด้ายพุ่งพิเศษ ทั้งแบบเสริมยาวต่อเนื่องตลอดหน้าผ้าและแบบเสริมเป็นช่วงๆ







ปัจจุบันการผลิตผ้านุ่งมีการเลือกใช้วัสดุทดแทนในการทอที่หลากหลาย อาทิเช่น การนำผ้าคอตตอนเนื้อผสมมาใช้ในการพิมพ์ผ้า ให้มีเนื้อสัมผัสเบา ระบายความร้อนได้ดี หรือ การใช้ผ้าไหมสังเคราะห์ที่เรียกว่า ผ้าไหมเทียม มาใช้แทนผ้าไหมจริงที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ แต่มีต้นทุนสูง เพื่อประหยัดต้นทุนและยังคงให้ความเงางามเลียนแบบธรรมชาติอยู่ เป็นต้น ผ้านุ่งในปัจจุบันจึงมีรูปแบบที่หลากหลายทั้งวัสดุ และสิ่งทอ
