รู้หรือไม่!? สีลิ้นจี่ที่เราได้ยินกัน ไม่ได้มาจากผลไม้ลิ้นจี่นะ
เคยสงสัยกันไหมว่า สีโบราณแต่ละสีมีที่มาอย่างไร วันนี้เราจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับสีที่เราคุ้นหูและปรากฎในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่รู้ว่าที่มามันมาจากไหน ไปอ่านกันเลย
-สีลิ้นจี่ หรือสีลิ้นจี่เป็นสีแดงธรรมชาติที่ใช้ทาปากในสมัยโบราณและงิ้วใช้แต่งหน้าให้เป็นสีแดง สูตรทางเคมีเป็นกรดคาร์มินิกที่เกิดสารเชิงซ้อนกับอะลูมิเนียม ได้จาก “แมลงอินจี” เพศเมียที่มีตัวอ่อนอยู่ในท้อง นำแมลงตัวเมียมาอบให้แห้ง จะได้เม็ดเล็ก ๆ สีเงิน เมื่อนำมาบดจะได้สีแดง เรียกชาดลิ้นจี่
–สีโศก ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร มีดอกขึ้นเป็นพุ่มสีแสดออกแดง ส่วนสีโศกได้มาจากการเลียนสีของใบโศกแยกเป็นโศกใบอ่อนสีเขียวอ่อนซีดๆจืดๆก็ได้ หรือไล่สีเป็นสีเขียวอ่อนที่เข้มขึ้นมาอีกนิดแบบโศกใบแก่ขึ้นมาหน่อยก็ได้เช่นกัน
-สีแสด(ดอกคำแสด) ได้มาจากการนำผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลาย ๆ วัน จนสารสีตกตะกอน จากนั้นนำไปคี่ยวและตากแดดจนแห้ง บดละเอียดทำเป็นผงใช้ผสมน้ำต้มย้อมผ้าจะได้สีส้มสว่าง ผ้าที่ย้อมจากสีดอกคำแสดมีทนต่อเหงื่อ การซัก แต่หากถูกแสงแดดบ่อยครั้งจะทำให้สีซีดลง
-สีคราม คนสมัยโบราณนิยมนำกิ่งครามทั้งใบมาแช่น้ำด่าง เพื่อหมักเอาน้ำครามมาย้อมผ้าหลังจากที่น้ำหมักครามทำปฎิกิริยากับออกซิเจน สีที่ได้คือสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า สีคราม นั่นเอง แต่ต้องย้อมซ้ำหลายครั้ง ครั้งแรก ๆ จะได้เป็นสีครามเข้ม
-สีเขียวใบแค เป็นสีไทยที่อยู่ในหมวดสีเขียว เป็นสีที่ปรุงมาจากใบต้นแค โดยเลือกใบที่แก่จัดๆนำมาบดหรือตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาหมักหรือต้มย้อมผ้าแล้วตากให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียดอีกรอบ จะได้เป็นเนื้อสีเขียวเข้ม
-สีม่วงดอกตะแบก ใช้เปรียบเทียบแทนโทนสีม่วงอมชมพูสดใสของผืนผ้าหรือสิ่งของต่างๆ ดอกตะแบกมีลักษณะเป็นดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคมถึงกันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือนธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือนมีนาคม แต่ในการย้อมผ้าจะใช้ส่วนเปลือกต้นตะแบกในการย้อมสี ลอกเฉพาะเปลือกนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆและตากแห้งห่อนนำมาย้อม จะให้สีน้ำตาล
-สีดอกอัญชัน เป็นไม้เลื้อย ลำต้นมีขนนุ่ม มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่), เอื้องชัน, เองชัญ เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีม่วง มีประโยชน์ทางโภชนาการมากกว่ายี่ประการใช้ ดื่ม ผสมอาหาร บำรุงเส้นผม กระตุ้นการเกินใหม่ของเซลล์ขุมขนและอีกมากมายฯลฯ ในเชิงอุตสาหกรรมผ้า ใช้น้ำที่คั้นได้จากดอกมาย้อมผ้าจะให้สีม่วงอมน้ำเงิน เป็นพืชที่อยู่คู่วิถีชีวิตชาวบ้านมาตั้งแต่โบราณ
-สีเปลือกมังคุด หากใช้ส่วนเปลือกตำหรือทุบแล้วคั้นเอาน้ำ นำมาย้อมผ้านั้นสีที่ได้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมม่วงหรือสีขี้ม้า แต่ในสมัยโบราณใช้การเปรียบเทียบโทนสีตามธรรมชาติ เช่น พืช ผลไม้ แร่ธาตุ ฯลฯ เป็นต้น จึงเรียกว่าสีเปลือกมังคุดมาถึงปัจจุบัน
-สีกลีบบัว เป็นสีชมพูอมม่วงอ่อน ใช้เรียกแทนสีเสื้อผ้า ผ้านุ่ง หรือสิ่งต่างๆ ที่มีโทนสีชมพูอมม่วงอ่อน
-สีไพล เป็นไม้ตระกูลเดียวกับขมิ้น จัดเป็นพืชชั่วฤดู มีลำต้นแบบแง่งอยู่ใต้ดินหรือที่เราเรียกกันว่าหัวเหง้า ส่วนของหัวไพลจะมีเปลือกสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง เนื้อในมีสีเหลืองแกมเขียว ลำต้นจะแตกออกเป็นกอ มีกาบใบและโคนใบหุ้มเรียงกันเป็นชั้นๆ เหง้าไพลสดจะอุดมไปด้วยความชุ่มชื้น ฝืดคอ เผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยา ใช้เป็นส่วนประกอบการรักษาได้ทั้ง หัวไพล ใบ เหง้า และราก เป็นพืชสมุนไพรที่ชาวไทยใช้มาตั้งแต่อดีตกาลและใช้เทียบเคียงกับสีของผ้านุ่ง ผ้าผวย ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ ที่มีลักษณะสีเหลืองอมเขียวว่า”สีเหลืองไพล”
-สีเหลืองรง เป็นสีไทยที่อยู่ในหมู่สีเหลือง บางทีเรียกว่า รงทอง สีเหลืองรง ถือว่าเป็นแม่สีในสีไทย สังเกตุคำว่า “รง” จะไม่มี “ค์” เพราะคำว่า “รงค์” นั้นหมายถึงสีโดยเฉพาะเช่น เอกรงค์ แปลว่าการระบายสีเดียวเป็นต้น พวกช่างเขียนนิยมเรียกว่า “รง” ห้วน ๆ เป็นที่รู้กันว่าหมายถึงสีเหลืองสด (หมายถึงสีเหลืองพระจันทร์) ภายหลังมาเรียกยืดออกไปว่า “รงทอง” สีเหลืองรงนั้นได้จากยางของต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งเรียกว่า ต้นรง ขึ้นอยู่ตามป่าและบนเกาะบางแห่ง แถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณเกาะลังกา และแถบอินเดียใต้ นำมาทุบให้แหลก นำมาเคี่ยวไล่นํ้าให้ระเหยออกจนยางรงงวดขึ้นได้ที่ จึงกรอกนํ้ายางรงในกระบอกไม้ไผ่ขนาดย่อมๆ ทิ้งไว้ให้เย็น ยางรงจะจับตัวแข็ง เมื่อผ่ากระบอกออก เนื้อรงจะมีลักษณะเป็นแท่งกลม ยาว เมื่อจะนำมาใช้ ก็ฝนกับนํ้าให้รงละลายออกเป็นสี เพื่อใช้เขียนระบายภาพ หรือในอุตสาหกรรมผ้าย้อม
-สีเหล็ก (แร่เหล็ก) เป็นโทนสีเทาอมเหลือง ที่เปรียบเทียบกับแร่ในธรรมชาติ แต่ในทางอุตสาหกรรมแร่เหล็กถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำสีสเปร์ สีอเนกค์ ย้อมผ้า สีสำหรับจิตกรรม ฯลฯ โดยสกัดสารชื่อว่าไอเอิร์นออกไซด์ มีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาล เป็นสารประกอบเคมีที่ประกอบด้วย เหล็ก และออกซิเจน นำมาใช้เป็นส่วนประกอบทำให้เม็ดสีชัดและติดทนมากยิ่งขึ้น
–สีกรมท่า หรือสีน้ำเงินเข้ม/เป็นชื่อกรมเจ้าท่าในส่วนราชการระบบเก่า ในสมัยอยุธยา กรมกองต่างๆจะมีเฉดสี ประจำกรมของตน ภายในหน่วยงานนี้ข้าราชการทั้งหลายนิยมการนุ่งโจงสีน้ำเงินเข้มมาทำงาน จนเป็นภาพจำของชาวบ้านชาวช่อง ผู้คนจึงพากันเรียกสีน้ำเงินเข้มว่า “สีกรมท่า” นับแต่นั้นสืบมาจนถึงปัจจุบันแต่การออกเสียงจึงผิดเพี้ยนไปเป็น กรมท่า(กรม-มะ-ท่า)
-สีน้ำครั่ง ตัวครั่งเป็นแมลงสีแดงขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงเช่น ก้ามปู พุทรา สะแก และจะใช้ปากซึ่งมีลักษณะเป็นงวงดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เพื่อเป็นอาหารและครั่งจะระบายยางครั่งที่มีลักษณะเหนียวสีเหลืองออกมาเป็นเกราะหุ้มตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรู ยางเมื่อสัมผัสกับอากาศจะแข็งตัว เรียกว่า รังครั่ง ซึ่งสีจากครั่ง สามารถใช้เป็นสีย้อมแดงได้ดีและพบมากในภาคเหนือ ใช้เป็นสีแต่งอาหารและสีย้อมผ้า ไหม ขนสัตว์ หนังฟอกและฝ้าย โดยส่วนที่ใช้คือ ตัวและรัง รังครั่งจะมีพวกชันและสี เมื่อนำสีออกไปย้อมผ้าแล้ว ชันยังใช้ทำเป็นเชลแลคและน้ำยาขัดเงาได้
-สีเสน เป็นสีไทยที่อยู่ในหมู่สีแดง บางทีเรียกว่าสีแดงเสน (Red Lead) หรือสีแสด สีเสนเป็นสีที่มาจากสนิมดีบุก หรือออกไซด์ของตะกั่ว โดยให้ระเหยขึ้นไปจับภาชนะที่รองรับเบื้องบนแล้วเกิดเป็นสี นำเข้ามาจากจีน เป็นสีที่ละลายน้ำยาก ต้องใช้เวลาบดนาน เป็นสีที่มีน้ำหนักมาก สีแดงเสน มีคุณลักษณะเป็นสีแดงส้ม หรือแดงอมเหลืองแก่ เป็นสีที่สดและสว่างมาก และมีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่สามารถเทียบสีผสมโดยวิธีปกติได้
สีหงสบาท เป็นสีเก่าแก่ แปลว่าเท้าของหงส์ เป็นสีไทยที่อยู่ในหมู่สีแดงออกชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมระหว่างสีลิ่นจี่กับสีขาว เจือสีรงเล็กน้อย โดยการเปรียบเทียบสีจากเท้าหงส์หรือหงอนไก่ คือมีสีแดงชมพู่อมม่วง, สีแดงชมพูอมเหลือง, สีแดงเรื่อเป็นสีที่แทนค่าสีของอัญมณี หนึ่งในสีนพเก้าคือเพทายเป็นสีกายของพระเพลิง เทพเจ้าใหม่
-สีเหลืองหรดาล เป็นสารประกอบซัลไฟด์ของสารหนู เรียกอาร์เซนิกไตรซัลไฟด์ (Arsenic trisulfide) ให้สีเหลืองสว่างออกทองนำไปฝนหรือบดละเอียด ใช้ประสมในยาแก้ไข้จับสั่น แก้หัด แก้พิษ ใช้ผสมในยากวาดคอเด็ก ในทางศิลปะจิตกรรมใช้เขียนงานจิตกรรมฝาผนังแทนการปิดทอง ใช้จารลงในสมุดข่อยดำหรือเขียนลายรดน้ำ ใช้น้ำยาหรดาลเขียนบนพื้นซึ่งทาด้วยยางที่ได้จากต้นรัก เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงเช็ดรัก ปิดทอง แล้วเอาน้ำรด น้ำยาหรดาลที่เขียน เมื่อถูกน้ำก็จะหลุดออก ส่วนที่เป็นลวดลายทองก็ติดอยู่
และก็มีสี่อื่น ๆ ที่อ้างอิงจากธรรมชาติเพิ่มเติม เช่น
-สีอิฐหรือสีส้มอิฐ มีสีส้มอมแดง เนื่องมาจากในสมัยโบราณมักใช้อิฐแดงในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็น วัด เจดีย์ กำแพงรั้วรอบขอบชิด ฯลฯ จึงถูกนำมาเทียบเคียงสีโทนส้มอมแดงว่าสีอิฐ
-สีเขียวตองอ่อน เป็นอีกเฉดของสีเขียวที่เทียบเคียงสีของผ้า สิ่งของ และสื่งต่างๆที่มีสีคล้ายใบของต้นกล้วยหรือใบตองที่มีใบสีอ่อน
– สีมอหมึกอ่อน บางที่เรียก “สีสวาด” เกิดจากการผสมกันระหว่างสีดำ หรือสีดำเขม่ากับสีขาว สีเขม่าชนิดดี มักห่อขายเป็นแหนบเล็กๆ สีดำอีกชนิดเรียกว่า “หมึกจีน” เป็นสีดำผสมยางไม้ ปั้นเป็นแท่ง นำมาฝนละลายกับนํ้าเพื่อใช้ตัดเส้นดำที่เป็นส่วนละเอียดหรือลงสีจิตกรรมต่างๆ
***สีของภาพประกอบอาจมีคลาดเคลื่อนไปบ้าง
TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE
>>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<<
เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”