loader image

ผ้าซิ่นดอยเต่าเมืองฮอด สัญลักษณ์บนผืนผ้ากับความรุ่งเรืองในอดีตริมสองฝั่งปิง

รู้จัก ‘ซิ่นน้ำถ้วม/น้ำท่วม’ งามภูษาและน้ำตาของชาวดอยเต่า จ.เชียงใหม่ สัญลักษณ์บนผืนผ้ากับความรุ่งเรืองในอดีตริมสองฝั่งปิง ‘ซิ่นหนีน้ำท่วม’ หรือ ‘ซิ่นน้ำถ้วม’ ตามภาษาอักขระล้านนา เป็นซิ่นชาวไทยยวนของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทะเลสาบดอยเต่าจังหวัดเชียงใหม่ ที่มาของการขนานนามว่า ‘ซิ่นน้ำถ้วม’ เนื่องด้วยช่างทอได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยจนต้องอพยพโยกย้ายถิ่นจากบริเวณเดิม การอพยพหนีน้ำท่วมที่มาของชื่อผ้าทอตีนจกลาย หนีน้ำถ้วม ผ้าทอตีนจกมีการทอมาตั้งแต่ชุมชนเดิมริมสองฝั่งปิง คุณยายแก้วลา พรมเทศ ผู้สืบทอดผ้าทอตีนจกผืนเก่ามรดกจากบรรพบุรุษเล่าว่า ‘ …สมัยก่อนแม่อุ้ยอาศัยอยู่บ้านแอ่นริมแม่น้ำปิง เห็นการทอผ้าตีนจกมาตั้งแต่เป็นเด็ก แม่ของแม่อุ้ยนั้นทอตีนจกเป็นสามารถทอได้มากเป็นกระสอบ จนนุ่งไม่หมดก็แจกให้ลูกหลานนุ่ง’ ผ้าทอตีนจกในสมัยอดีตเป็นของมีค่าเปรียบเทียบได้กับทองคำ ผู้ที่นิยมสวมใส่มักเป็นผู้ที่มีฐานะอดีตราคาผ้าทอตีนจกมีราคาตั้งแต่ 100-500 บาท หากเทียบกับค่าจ้างรายวันชาวบ้าน ได้รับวันละ 8 บาท ผ้าทอกับผู้ที่มีรายได้น้อยจึงไม่สามารถซื้อหามานุ่งได้ ถือว่าเป็นสิ่งของไม่จำเป็น ในปี 2506-2507 หลังจากการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลแล้วเสร็จ น้ำปิงที่ปิดกั้นได้เอ่อท่วมตั้งแต่อำเภอสามเงา จังหวัดตากเรื่อยขึ้นมาถึงพื้นที่ริมสองฝั่งปิงในเขตดอยเต่า ประกอบด้วยหมู่บ้าน 21 หมู่บ้าน มีพื้นที่ถึง 54 ตารางกิโลเมตร น้ำได้เอ่อท่วมพื้นที่ทำกินรวมถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของราษฎร์ ต้องอพยพหนีน้ำท่วมเข้ามาอยู่ในบริเวณที่ดินจัดสรรของนิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพล ผ้าทอตีนจกในสมัยนั้นมีคุณค่าเปรียบเช่นทองคำ เป็นสิ่งผู้อพยพย้ายถิ่นนำติดตัวมา จึงเรียกขานว่าผ้าทอตีนจกลายหนีน้ำถ้วม มาจนถึงปัจจุบัน เขื่อนภูมิพลปิดกั้นลำน้ำปิงที่ อ.สามเงา จ.ตาก […]

nattapaty

November 6, 2024

งานช่างสนะ ช่างฝีมือสุดเทพ

ตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฏการใช้ผ้านั้น พระมหากษัตริย์ พระมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ จนถึงขุนนางระดับสูง โดยจัดจำแนก ตามรูปแบบการใช้งาน คือใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น เสื้อครุย ผ้าทรงสะพัก ฯลฯ เป็นเครื่องราชูปโภค เครื่องประกอบอิสริยยศ ตลอดจนใช้ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น ผ้าปูลาดและผ้าสำหรับถวายเป็นพุทธบูชา ผ้าปักที่ใช้ในราชสำนักมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ผ้าปักที่สร้างสรรค์ด้วยเทคนิค การปักแบบโบราณเพื่อเพิ่มคุณค่าและความงามให้กับผืนผ้า เช่น การปักไหม การปักแล่ง และการปักหักทองขวาง ตลอดจนผ้าปักสำเร็จรูปที่สั่งซื้อยกพับมาจากต่างประเทศ เพื่อนำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยวัสดุที่ใช้ในงานปักของราชสำนัก เช่น ดิ้นเงินดิ้นทอง เลื่อม ไหมสีต่างๆ แล่ง ดิ้นข้อ ดิ้นโปร่ง ปีกแมลงทับ ฯลฯ งานปักเป็นงานประณีตศิลป์ที่ต้องใช้ความชำนาญ มีความละเอียดสูง และอาศัยระยะเวลาในการสร้างสรรค์ผลงาน ในราชสำนักสยามมีการสืบทอดช่างฝีมืองานปักมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยสังกัดในกรมพระภูษา เรียกว่า “ช่างสนะ” ช่างสนะ คือ ช่างผู้มีความชำนาญในงานฝีมือด้านผ้า กระดาษ และหนัง สร้างงานด้วยการเย็บ ปัก ถัก ร้อย และปะชุน สร้างสรรค์ให้เกิดเป็นชิ้นงาน ประณีตด้วยกระบวนการตัดแบบ เย็บแบบ ปักแบบ และนำมาเย็บประกอบด้วยด้ายให้เป็นรูปร่าง เข้าแบบ เข้าทรงเข้าชุด เป็นตาลปัตร พัดรอง ชุดโขน ชุดละคร เป็นต้น งานช่างสนะ จึงมิใช่เป็นเพียงงานสร้างชิ้นงานใหม่ขึ้นเท่านั้น หากแต่ยังหมายรวมถึงงานซ่อม หรือการปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานเก่าด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานผ้า งานหนัง หรืองานกระดาษ ที่มีกระบวนการเย็บ ปัก ถัก ร้อย และปะชุน ดังกล่าว              ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฏหมายตราสามดวงมีการจัดแบ่งพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองขึ้นใหม่ โดยจัดระเบียบหมวดหมู่ช่าง แบ่งออกเป็นกรมต่างๆ เรียกว่า “กรมช่างสิบหมู่”              ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) ทรงจัดการงานช่างเป็นกรมต่างๆ ซึ่งมี ช่างสนะไทย เป็นกรมหนึ่งด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงจัดระเบียบราชการใหม่ บรรดาช่างหมู่ต่างๆ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรม ในฝ่ายข้าราชการพลเรือนโดยตรง ไม่เกี่ยวกับทหารอย่างที่เป็นมาแต่โบราณ             ในจดหมายเหตุพระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ในรัชกาลที่ ๕ กล่าวถึงขุนนางกรมต่างๆ ที่ได้เข้ามาร่วม”กระบวนถืออาวุธกลับปลายลงล่าง”ตามประเพณี ใน พ.ศ. ๒๔๒๙ มีชื่อกรมช่างสนะ ไทย-จีน รวมอยู่ด้วย และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) กรมช่างมหาดเล็กได้ถูกยุบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อันเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๖๑) งานช่างสิบหมู่ได้ไปรวมอยู่กับกรมมหรสพ ต่อมาเมื่อตั้งกรมศิลปากรจึงได้ไปรวมอยู่กับกรมศิลปากรในภายหลัง             ช่างสนะ เป็นช่างประเภทหนึ่งในกลุ่มช่างสิบหมู่ ซึ่งเป็นช่างเครื่องผ้าต่างๆ สนองพระราชประสงค์ เช่น เย็บผ้า ปักผ้า ปะชุนผ้า นอกจากนี้ ยังทำเครื่องหนัง เช่น อานม้า ปลอกมีด เข็มขัด หรือสายรัด ตัดเครื่องแบบชุดทหาร ช่างสนะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มช่างคนไทย เรียกว่า “ช่างสนะไทย” กลุ่มช่างคนจีนเรียกว่า “ช่างสนะจีน”             ช่างสนะมีทั้งฝ่ายสร้างและฝ่ายซ่อม เพราะสิ่งของต่างๆ อาจมีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบเมื่อเก่าลงก็มีการซ่อมแซม ตัดแต่งชุด กระเป๋า รองเท้า ที่ทำงานเกี่ยวกับ เครื่องผ้า เครื่องหนัง และกระดาษ ร่วมไปถึงการยาเรือ ผู้ทำงานต้องมีความเข้าใจถึงกระบวนการทำงาน รู้จักวัสดุที่ใช้สร้างงาน สามารถเลือกวัสดุที่จะใช้ให้เหมาะสมกับการสร้างงานไม่ว่าจะเป็นสีของไหม รูปแบบของเลื่อม ลักษณะของดิ้นแบบต่างๆ ช่างต้องมีทักษะ เข้าใจเทคนิค สามารถแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ซึ่งวิธีการปักแต่ละแบบ ของวัสดุแต่ละชนิดมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันในการทำให้เกิดเป็นลวดลาย ในการปักดิ้นไหม เลื่อม แล่ง ต่างๆ นำมาเข้ารูป เข้าทรง เป็นผ้าม่าน ผ้าหน้าโขนเรือพระราชพิธี เครื่องสูง ตาลปัตร พัดรอง รวมถึงเครื่องแต่งกาย โขนละคร และหุ่นไทยที่มีความประณีตสวยงาม  วิธีการผลิตงานช่างสนะโดยสังเขป             ๑. การตัดเย็บแบบ เข้ารูปทรงเป็นชุด นำไปปักลวดลาย แล้วนำมาประกอบเข้าเป็นชุดทหาร มหาดเล็ก หมวก ต่างๆ เป็นต้น […]

nattapaty

October 16, 2024

ผ้าสมปักปูม เสน่ห์งานหัตศิลป์

ผ้าสมปักปูม เป็นผ้าโบราณชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันในราชสำนักสยาม นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นผ้าที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานให้เป็นเครื่องยศแก่ขุนนาง หรือผู้ที่รับราชการมีบรรดาศักดิ์ต่างๆ ใช้นุ่งตามยศตาม ตำแหน่ง ใช้นุ่งเฉพาะเวลาเข้าเฝ้าฯ หรือนุ่งในพระราชพิธีที่สำคัญๆ ต่างๆ และใช้นุ่งเฉพาะในเขตพระราชวังเท่านั้น ซึ่งถือเป็นผ้าทอที่ทอด้วยความละเอียด ประณีต และมีคุณภาพที่ดี ผ้าสมปักปูม ในอดีตเป็นผืนผ้าหน้าแคบ ที่ต้องนำผ้าสองผืนมาเย็บ หรือ “เพลาะ” ต่อกัน เมื่อ “เพลาะ” แล้วผืนผ้าจะมีความกว้าง และมีความยาวกว่าผ้านุ่งธรรมดา จึงใช้เป็นผ้านุ่งโจงได้ ส่วนกระบวนการทอและลวดลายบนผืนผ้า เป็นเครื่องบ่งบอกฐานันดรของผู้ส่วมใส่ ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบ ไว่ใช้สวมใส่ตามวาระสำคัญ ๆ เช่น สมปักเชิงปูม สมปักล่องจวน สมปักปูมดอกเล็ก สมปักปูมดอกกลาง สมปักปูมดอกใหญ่ สมปักปูมท้องนาค เป็นผ้าแต่ละรูปแบบมีความเหมาะสมในการสวมใส่ต่างวาระองค์ประกอบบนผืนผ้ามีการแบ่งพื้นที่บนผืนผ้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับการบอกยศตามชั้นของขุนนาง คือ ขุนหลวง คุณพระ พระยา แต่ละชั้นจะมีจำนวนศักดินาที่แตกต่างกันออกไป ให้ดูที่ลายบริเวณ ส่วนของท้องผ้าว่าเป็นลวดลายอะไร ดอกขนาดไหน เล็ก กลาง ใหญ่ สีของท้องผ้าอาจเกี่ยวข้องกับสังกัดกรมกองในหน้าที่การงาน ส่วนพระภูษาทรงของเจ้านายอาจแตกต่างจากขุนนางตรงวัสดุที่นำมาผลิตและตกแต่งจะเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่ามากกว่าเส้นไหมธรรมดา โดยอาจใช้ดิ้นเงินหรือดิ้นทอง เพื่อเพิ่มมูลค่าและความสวยงามให้กับผืนผ้าที่ทอ ผ้าสมปักปูม ท้องผ้าลายนาคขอบคุณภาพจากหนังสือราชภูษิตาภรณ์สยาม […]

nattapaty

September 26, 2024

เมืองลี้ พื้นที่โหล่ง ที่มาของ “ผ้าจกโหล่งลี้”

“ผ้าจกโหล่งลี้” ผ้าทอโบราณลายจกของชุมชนโหล่งลี้ที่สืบเชื้อสายไทยวน สร้างลวดลายและสีสันที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวลำพูนภาคภูมิใจ “เป็นลายที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ปู่ย่าตายายสร้างสรรค์ลวดลายจากจินตนาการไม่มีแบบหรือแม่พิมพ์ การขึ้นลายใช้ทักษะและประสบการณ์เฉพาะของผู้ทอ”  ประวัติความเป็นมา “เมืองลี้” เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยหรือก่อนปี พ.ศ. 1800 อยู่ภายใต้การดูและของอาณาจักรล้านนา จวบจนถึงยุคที่พม่าปกครอง ทำให้ประวัติศาสตร์และความสำคัญของเมืองลี้ มีทั้งยุคที่รุ่งเรืองและรกร้าง สลับช่วงกันไป ขึ้นอยู่กับความใสใจและราโชบาย ของกษัตริย์ล้านนาแต่ละพระองค์ ปรากฎหลักฐานชื่อเมืองลี้อีกครั้งหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเส้นทางเดินทัพของสยาม ที่เดินทัพขึ้นไปปราบกองทัพพม่าที่เชียงใหม่ เมืองลี้ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อนครลำพูน เจ้าผู้ครองนครได้แต่งตั้งผู้ปกครองเมืองลี้ เรียกว่า พญาลี้ พญาลี้คนสุดท้ายคือพญาเขื่อนแก้ว สิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ 5 ในขณะที่ชาวเมืองลี้เอง มีตำนานและเอกสารโบราณ หรือ พับสา กล่าวถึงบรรพบุรุษหรือผู้ปกครองของตน กล่าวถึงเรื่องราวของพระนางจามะรี พระราชธิดาของเจ้าเมืองหลวงพระบาง ได้พาผู้คนอพยหลบหนีลี้ภัยข้าศึกและโรคระบาด จากเมืองหลวงพระบาง ลงมายังทางทิศใต้สู่ แว่นแคว้นดินแดนล้านนา โดยได้สร้างเมือง ณ บริเวณวัดพระธาตุดวงเดียว เนื่องด้วยมีสายน้ำ 3 สาย มาบรรจบกัน ได้แก่ แม่ลี้ แม่แต๊ะ และแม่ไป จึงมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสม จึงตั้งชื่อเมืองว่าเมืองลี้ […]

nattapaty

August 23, 2024

เสน่ห์นางพญาผ้าซิ่นแห่งล้านนา

นางพญาผ้าซิ่น หมายถึงของสุดยอดหรือซิ่นของซิ่นทั้งมวล และแน่นอนเป็นของแพงหายากในวงการผ้าโบราณนั้นมีอยู่ ๕ ชนิด เทียบเท่าพระเครื่องเบญจภาคีในวงการพระเครื่องเลยทีเดียว ว่ากันว่าหากมีครบทั้ง ๕ ผืน ก็จะดึงดูดผ้าโบราณทั้งหลายให้เข้ามา (เป็นความเชื่อนะครับ)   1.   ซิ่นไหมคำเมืองเชียงตุง ซิ่นไหมคำเมืองเชียงตุงหรือเรียกอีกอย่างว่า ซิ่นบัวคำ         เป็นซิ่นชนิดเดียวในผ้าซิ่นทั้ง 5 ที่ไม่ได้มีแหล่งกำเนิดในเมืองไทย เป็นซิ่นของราชสำนักไทเขิน นอกจากจะมีความสวยงามและความโดดเด่นแล้วยังมีมูลค่าหลายแสนบาทด้วยเพราะซิ่นชนิดนี้หาได้ยากมาก   เชื่อกันว่าซิ่นชนิดนี้มีอาถรรพ์โดยเป็นซิ่นชนิดเดียวที่เลือกผู้เป็นเจ้าของ   เนื่องด้วยเมืองเชียงตุงเป็นเมืองการค้าระหว่างล้านนา จีน พม่า จึงรับเอาวัฒนธรรมของชาติต่างๆ มาผสมผสานผ่านผืนผ้าได้อย่างลงตัว         ตัวซิ่นจะทอยกมุกด้วยไหมคำโดยนำเอาทองคำหรือเงินหรือกาไหล่ทองมารีดเป็นเส้นแบนยาวแล้วเอามาตีเกลียวกับเส้นใยส่วนมากเป็นฝ้ายแล้วนำมาทอ ต่อกับส่วนล่างของซิ่นคือผ้าไหมจีนหรือกำมะหยี่สีเขียว ด้านบนของตีนซิ่นจะปักลายบัวคำด้วยเส้นไหมหรือโลหะมีค่า ส่วนล่างสุดของซิ่นจะติดด้วยแถบไหมของจีน 2. ซิ่นตีนจกไหมเงินไหมคำราชสำนักเชียงใหม่ ซิ่นตีนจกแบบเชียงใหม่นั้นเรียกได้ว่าเป็นซิ่นที่เป็นมาตรฐานของซิ่นล้านนา ลวดลายที่แน่นอนมีแบบแผนชัดเจน ซิ่นชนิดนี้มักมีผู้สั่งทอมากเช่นเจ้านายลำพูน ลำปาง และพวกคหบดีมีเงิน         ลักษณะของซิ่นตีนจกแบบเชียงใหม่นั้น มีลวดลายเหมือนซิ่นจกที่อื่นๆ […]

nattapaty

August 5, 2024
1 2 7