Kab-Kum

“Kab-Kum’ is a ceremonial attire of the royalties of the Mandalay Dynasty (nowadays Myanmar). The attire was also being used as a contribution to the royal families of the colonies. The gifting of Kab-Kum is not merely the cultural distribution but the symbol of power and unity over the territories under the colonies. Kab-Kum attire […]

nattapaty

October 20, 2021

The bottom-wear of the royalties

Record revealed in the royal law in regards the bottom-wear of the royalties to which brought attention to the study of historical attire and garment in Siamese era was the phrase ‘ขนองกั้นเกนสนับเพลา (Ka-Nong-Kan-Ken-Sanub-Plaw), the literal words themselves are not to have any understandable meaning, hence the need to decode each of the words and the […]

nattapaty

October 20, 2021

ผ้าหนามขนุน (ชิโบริ)

ผ้าหนามขนุน เป็นผ้ามัดย้อมจากญี่ปุ่นและอินเดีย มีลายปมเหมือนหนามขนุน ใช้เป็นผ้าคาดเอวขุนนาง ทำโดยการนำผ้าแพรบาง ๆ ผ้าไหม หรือผ้าอื่น ๆ มามัดด้วยเชือกเส้นเล็ก ๆ กับวัสดุปลายแหลม บางแห่งจะนำไปอังไฟร้อน ๆ เพื่อให้เกิดปุ่มนูนขึ้น นอกจากจะมีการมัดแล้วยังย้อมทับด้วยสีเพิ่มไปอีก จึงทำให้เกิดเป็นหนามคล้ายหนามของผลขนุน จึงเรียกผ้าชนิดนี้ว่า “ผ้าหนามขนุน” นอกจากนี้ยังมีลวดลายที่เกิดจากการเย็บและรูดการพับด้วยผ้าที่ย้อมด้วยเทคนิคชิโบรินั้นเป็นงานที่ละเอียดอ่อน ประณีตและมักมีการใช้เทคนิคการปักเข้าร่วมด้วย ความซับซ้อนของลวดลายนั้น นอกจากทำเป็นลายธรรมดา ตารางหนามขนุนแล้ว ยังมีลวดลายอื่น ๆ ที่แสดงถึงความสามารถของช่างมัด เช่น ลายใบไม้ ลายดอกไม้ ลายคลื่น ลายเกล็ดปลา ลายข้าวหลามตัด ฯลฯ ผ้าหนามขนุนที่ได้จากญี่ปุ่น จะมีความละเอียดมากกว่าผ้าหนามขนุนที่ได้จากอินเดีย ซึ่งมีลักษณะลายที่ใหญ่กว่า และผ้าหนามขนุนเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ผูกขาดการค้าโดยราชสำนักสยาม เพื่อพระราชทานให้กับข้าราชบริพาร และขายให้กับคหบดี ที่มีกำลังทรัพย์ในการซื้อหามาสวมใส่ นอกจากใช้เป็นผ้าเกี้ยวแล้ว ยังใช้เป็นผ้าห่ม ผ้าคลุม เป็นต้น ส่วนลักษณะผ้าเกี้ยว คือ การนำไปคาดเอว ในราชสำนักสยาม นิยมเกี้ยวทับโจงกระเบน ด้านนอกเสื้อ (ลายอย่างน้อยหรือลายอย่างใหญ่ หรือเสื้อชนิดอื่น ๆ) […]

nattapaty

October 6, 2021

เครื่องเบญจรงค์

การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่า เป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยในอดีตใช้การสั่งทำที่ประเทศจีนจีน แต่ลวดลายสีสันเป็นไทย ฝีมือเขียนของช่างไทย ฉะนั้นลักษณะของเครื่องถ้วยเบญจรงค์จึงมีความงามอย่างไทยยิ่งกว่าเครื่องถ้วยประเภทอื่น ๆ แม้แต่สังคโลกซึ่งเป็นของไทยเอง ก็ยังไม่แสดงเอกลักษณ์ไทยเท่ากับเครื่องถ้วยเบญจรงค์ จัดเป็นเครื่องถ้วยฝีมือชั้นสูง เป็นของราชสำนักในวังเจ้านาย และบ้านขุนนางชั้นสูง ไม่ใช่สำหรับจัดจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ต้นกำเนิดของเครื่องเบญจรงค์ใช้สีวาดระบายเพียง 3 สี ต่อมาได้พัฒนาเป็น 5 สี คือ สีขาว สีเหลือง สีดำ สีแดง และสีเขียว ( คราม ) จึงเรียกว่า “ เบญจรงค์ ” ซึ่งหมายถึง เครื่องเคลือบที่มีการวาดสีลงไป 5 สี ปัจจุบันมีการใช้สีมากกว่า 30 สี เครื่องเบญจรงค์มีการออกแบบลวดลายต่าง ๆ ด้วยการวาดสี 5 สี ลวดลายที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพพนม ลายนรสิงห์ รวมถึงลายดอกไม้ ลายสัตว์ และลวดลายจากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น ลวดลายที่วาดลงในเครื่องเบญจรงค์ จะสะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน […]

nattapaty

October 1, 2021

เสื้อกาบคำ

“เสื้อกาบคำ” เป็นเครื่องแต่งกายในวาระพิเศษของกษัตริย์แห่งราชสำนักมัณฑะเลย์ นอกจากนี้ยังเป็นชุดที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยศแก่เจ้าฟ้า มหาเทวี เมืองเชียงตุงและไทยใหญ่ รวมถึงหัวเมืองประเทศราชและรัฐในปกครองทั้งหลาย ที่ได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายเพื่อขอสวามิภักดิ์ ซึ่งการมอบ ชุดกาบคำ ให้ในลักษณะนี้นอกจากจะเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมการแต่งกายแล้ว ยังเป็นเหมือนการส่งมอบสัญลักษณ์ให้คนในปกครองได้ใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของหลายประเทศในยุคล่าอาณานิคม นอกจากนี้ ชุดกาบคำ ยังได้รับอิทธิพลมาจาก “ชุดมหาลดา” ของราชสำนักพม่า ซึ่งได้รับช่วงต่อมาจากพุทธศาสนาอีกทอดหนึ่ง เกี่ยวกับ “ชุดมหาลดาปสาธน์” ของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ที่มีการปักดิ้นเงินดิ้นคำ เพชรนิลจินดาและสวมชฎารูปนกยูง ตามพุทธประวัติอีกด้วย TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE >>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<< เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”

nattapaty

September 10, 2021

คลุมปัก เครื่องใช้ในราชสำนัก

คลุมปัก หรือ คลุมปิด หมายถึง วัตถุทำด้วยผ้า มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย มียอดแหลม ที่ปลายแหลมมีพู่ ทำด้วยผ้าปักสำหรับครอบปากพานที่เชิดเครื่องราชูปโภค อันเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศ หรือคลุมบนพานแว่นฟ้าที่ใช้วางสิ่งที่มีความสำคัญ ส่วนบริเวณกรวยนั้น คือ ทำด้วยผ้าปัก หักดิ้นเงิน ดิ้งทอง ตามเทคนิค และการวางกระบวนลายโดยอาศัยเทคนิคการปักสะดึงกลึงไหมอย่างในราชสำนัก คลุมปัก แต่ละชิ้นมีขนาดต่าง ๆ กันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และลักษณะการใช้งาน ราชสำนักสยามใช้คลุมปักสำหรับครอบปากพานที่เชิดเครื่องราชูปโภค หรือวัตถุสิ่งของที่ต้องการความมิดชิด ไม่โดนอากาศ หรือ ฝุ่นละออง เป็นต้น. ปัจจุบันเราจะพบคลุมปักได้ตามพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ (พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาลเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งในการเตรียมประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE >>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<< เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”

nattapaty

August 31, 2021

เสื้อในราชสำนัก

การสวมเสื้อเป็นเรื่องพิเศษในยุคนั้น ผู้ที่ส่วมเสื้อมักได้แก่พระมหากษัตริย์ ขุนนาง ทหาร ซึ่งต้องอยู่ในพระราชพิธีหรือออกรบ เสื้อผ้าที่ใช้ในงานพระราชพิธีและโอกาสต่าง ๆ มีชื่อปรากฎเป็นหลักฐานว่ายังมีใช้มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ เสื้อเยียรบับ เสื้อปัศตู เสื้ออัตลัต เสื้อกั๊ก เสื้อกระบอก เสื้อครุย เสื้อเข้มขาบ และที่สำคัญคือเสื้อทรงอย่างน้อย เป็นต้น เสนาบดีชั้นสูงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นิยมรูปแบบการตัดเย็บตามแบบชุดของชาวเปอ์เซีย โดยตัดเย็บด้วยมือทั้งตัว คอเสื้อทำปกยกตั้งกระชับ รอบคอขัดดุมไส้ไก่ เม็ดเล็กตามแบบจีน แขนยาว ผ่าปลายแขนเป็นรูปปากฉลาม ตัวเสื้อเข้ารูปที่เอว สาปเสื้อต่อจากคอปาดเฉียงลงมาจากขวามาซ้ายจรดเสื้อด้านล่าง บริเวณขอบเสื้อทุกส่วน ตั้งแต่คอเสื้อ สาบเสื้อ ปลายแขนและชายเสื้อใช้ผ้าไหมจีน เย็บห่อเส้นเชื้อกฝ้ายขนาดเล็กทำนองไส้ไก่ เย็บกุ๊นติดรอบบริเวณดังกล่าวตลอด ขณะที่เสื้อที่ข้าราชสำนักสวมใส่เข้าเฝ้าฯ เป็นเสื้อที่ตัดแบบง่าย ๆ ด้วยผ้าขาว เรียกเสื้อลักษณะนี้ว่า “เสื้อกระบอก” ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบและได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกมาดัดแปลงแบบเครื่องแต่งกายให้มีประโยชน์ใช้สอยและมีความสวยงามเพิ่มขึ้น ในระยะแรกก็เป็นการดัดแปลงแบบตะวันตกผสมผสานกับแบบไทยดั้งเดิม เช่น ฉลองพระองค์ของเจ้านายแบบทั่วไปสำหรับเข้าเฝ้าฯ ส่วนใหญ่เป็นฉลองพระองค์ไหมพื้น พระกรยาว พระปิดศอ มีขัดดุมผ่าอก เรียก “ฉลองพระองค์อย่างน้อย” “ฉลองพระองค์อย่างน้อย” หรือ ที่เรียกอย่างสั้นว่า เสื้ออย่างน้อยนั้น จึงเป็นรูปแบบเสื้อที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเสื้อที่ใช้กันภายในราชสำนักสยาม […]

nattapaty

August 3, 2021

Thai royal court gown

A royal court gown, ever since the Ayutthaya dynasty until Rathanakhosin, has been considered as the exclusive item of clothings. It was either worn on the occasion of royal Investiture or granted by the monarch to the royalties, aristocrats, or high-ranking officials. Hence the gown is representing the status and the prestige of those who […]

nattapaty

July 22, 2021
1 2 3 4 7