loader image

ซิ่น / ล้านนากับผ้าซิ่น / ภูมิปัญญาผ้าพื้นเมืองล้านนา

จิตรกรรมฝาผนังวัดสมุหประดิษฐาราม จ.สระบุรี แสดงการแต่งกายที่ต่างกันระหว่างชาวไทยวนกับคนไทยภาคกลาง ล้านนา หมายถึง ดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน ดินแดนแห่งขุนเขาที่มีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์ อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธ์ไทยวน ไทลื๊อ ไทเขิน ลั๊วะ ฯ  ทั้งที่อาศัยอยู่มาแต่โบราณกาลและพึ่งอพยบเข้ามา อาณาจักรล้านนาจึงมีศิลปกรรม ศาสนา สังคมและวัฒนธรรมเป็นของตัวเองตลอด จิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ แสดงวิถีชีวิตชาวบ้านกินเหล้า สูบขี้โย วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ “ซิ่น”  ซึ่งเป็นผ้านุ่งของผู้หญิงชาวล้านนาในอดีต ในวัฒนธรรมผู้หญิงชาวล้านนานั้น ผ้าแต่ละผืนล้วนแฝงไปด้วยคติและความเชื่อตามแต่ละท้องที่ ตลอดจนถึงลวดลายต่าง ๆ บนผ้าซิ่น และตีนจกเองยังเป็นตัวสะท้อนเรื่องราวของชาวล้านนาในแต่ละพื้นถิ่นได้เป็นอย่างดี ในอดีตผู้หญิงชาวล้านนานั้นจะเป็นผู้ทอผ้าซิ่นด้วยตนเอง ส่วนผู้ชายชาวล้านนาเองจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการเลือกคู่ครองจากความงดงาม และความขยันขันแข็งที่สะท้อนผ่านความตั้งใจของผู้ทอผ้า โดยอาศัยการทอผ้าและผ้าซิ่นเป็นตัวบ่งบอกความเป็นแม่ศรีเรือนของผู้หญิง หากได้เป็นคู่ครองแล้ว ผู้หญิงชาวล้านนาเองยังมีหน้าที่ทอผ้าสำหรับผู้เป็นคู่ครองของตนอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผ้าซิ่นยังมีการใช้ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ อันได้แก่ พิธีกรรมทางศาสนา การร่วมงานพิธีสำคัญ เป็นต้น ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จ.น่าน หญิงสาวชาวล้านนาทอผ้าซิ่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จ.น่าน  นอกจากนี้ ผ้าซิ่นจะมีการแบ่งแยกตามลักษณะการใช้งาน เมื่อต้องนุ่งสำหรับกิจวัตรทั่วไปจะนิยมใช้ซิ่นต่อตีนต่อเอวธรรมดา แต่หากมีโอกาสสำคัญผู้หญิงชาวล้านนาจะมีการต่อตีนซิ่นด้วยตีนจก ที่มีลวดลายละเอียด พิถีพิถัน มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มตน […]

nattapaty

September 11, 2020

ผ้าลายอย่าง / ผ้าลายอย่าง…แต่งกายอย่างอยุธยา

สตรีนุ่งผ้าลายอย่าง จิตรกรรมฝาผนังวัดสุทัศน์เทพวราราม ภาพหมู่พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 แต่งพระองค์ด้วยผ้าทรงภูษา ผ้าลายอย่าง วัฒนธรรมเครื่องนุ่งห่มของชาวสยามประกอบด้วยผืนผ้าที่ใช้นุ่งและห่มปกคลุมร่างกาย โดยไม่มีการตัดเย็บเรียกว่านุ่งผืนห่มผืน สยามเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างแหล่งผลิตผ้าแหล่งใหญ่ของโลกคืออินเดีย ทำให้มีพ่อค้านำผ้าอินเดียเข้ามาทำการค้าขายยังสยามอยู่เสมอ  เทคนิคการเขียนผ้าอินเดียรูปแบบหนึ่ง ผ้าอินเดียสามารถบ่งบอกถึงความแตกต่างทางสังคมได้เพราะผ้าที่ใช้สวมใส่มีความประณีตงดงาม มีหน้าผ้ากว้าง สีสันสดใส  ลวดลายสวยงามและวัสดุหลากหลาย เมื่อเทียบกับผ้าในสยาม ต่อมาราชสำนักสยามได้มีการออกแบบลายผ้าเองและส่งไปผลิต ยังประเทศอินเดียจึงเกิดเป็น “ผ้าลายอย่าง” คือ ผ้าที่ทางราชสำนักสยามเขียนตัวอย่างลาย ส่งไปให้ทางอินเดียผลิตให้ จากหลักฐานที่ปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัดในสมัยอยุธยาตอนปลาย ทำให้เห็นว่าผ้าลายอย่างเป็นที่นิยมในช่วงนั้นและมีธรรมเนียมการใช้เฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชสำนัก รวมถึงเป็นสิ่งของที่พระมหากษัตริย์ใช้พระราชทานแก่ผู้ทำความดีความชอบหรืออาคันตุกะคนสำคัญเท่านั้น    ผ้าลายอย่างประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่  โครงสร้างผ้าลายอย่าง ๑. ท้องผ้า หมายถึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของผ้าบริเวณตรงกลาง ท้องผ้า ๒. สังเวียนหรือขอบผ้า หมายถึง ลายบริเวณล้อมรอบท้องผ้าตามแนวยาว สังเวียนหรือขอบผ้า ๓. กรวยเชิงหรือเชิงผ้า หมายถึง ลายบริเวณล้อมรอบท้องผ้าด้านกว้าง ซึ่งกรวยเชิงจะเป็นเครื่องบ่งชี้สถานะของผู้สวมใส่   กรวยเชิงหรือเชิงผ้า ซึ่งผ้าลายอย่างสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะโครงสร้างของผ้า ผ้าท้องลาย คือผ้านุ่งที่มีลายทั้งส่วนท้องผ้า ขอบบนและล่างของผ้าหรือสังเวียน และลายกรวยเชิงสามชั้นหรือมากกว่าที่ชายผ้าสองข้าง 2.ผ้าทองพรรณ คือผ้านุ่งที่ไม่มีลายในส่วนท้องผ้า มีเฉพาะลายขอบบนและล่างหรือสังเวียน […]

nattapaty

September 9, 2020

ทรงผมเด็กไทยในสมัยโบราณ / ความเชื่อกับทรงผม

ก่อนที่จะมาเป็นทรงผมที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน มาทำความรู้จักแฟชั่นทรงผมเด็กไทยในอดีตกัน  วัฒนธรรมการไว้ทรงผมของเด็กไทยสมัยโบราณจะเป็นไปตามความเชื่อของผู้ใหญ่ในยุคสมัยนั้น ตามความเชื่อแล้วเชื่อกันว่าเด็กที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บไข้บ่อย ๆ จะนิยมให้ไว้ผมจุกหรือผมเปีย แล้วจะหายจากอาการป่วยนั้นได้  ภาพ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สยามกุฎราชกุมาร พ.ศ.2408” มีลายเซ็นผู้ถ่าย (J.Thomson) ซึ่งทรงผมสำหรับเด็ก มีทั้งหมด ๔ ทรง ได้แก่   “ทรงผมแกละ” พ่อแม่จะโกนผมลูกออกเหลือไว้เป็นกระจุกที่เรียกว่า “แกละ”  ซึ่งเด็กบางคนอาจมีสองแกละ สามแกละ หรือสี่แกละก็ได้ไม่ได้บังคับ   “ทรงผมจุก” ทรงนี้เป็นที่นิยมของคนมีฐานะดี เพราะดูสวย น่ารัก อีกทั้งยังมีมวยให้เสียบปิ่นทอง เงิน นากหรือคล้องพวงมาลัยได้ด้วย แต่ถ้าเป็นเด็กที่มีฐานะยากจนไม่มีเครื่องประดับ พ่อแม่จะใช้ผ้ามัดหรือถักเปียแล้วค่อยทำเป็นมวยไว้ด้านบนแทน  “ทรงผมโก๊ะ” คนโกนจะเหลือผมอยู่แค่กระจุกเดียวตรงขวัญ ส่วนบริเวณอื่นจะโกนจนเกลี้ยง      “ทรงผมเปีย” เป็นทรงที่สืบเนื่องมาจากผมแกละและผมโก๊ะ เมื่อผมปอยที่เหลือเริ่มยาวมาก พ่อแม่ก็จะถักเป็นหางเปียให้เรียบร้อยแล้วปล่อยให้แกว่งไกวตามการเคลื่อนไหวของเด็กจะไม่จับไปมวยแบบทรงผมจุก   นอกจากเรื่องความเชื่อแล้วจะพบว่าประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การให้เด็กไว้ผมยาวจะทำให้เด็กเกิดความรำคาญและดูแลรักษายาก แต่จะโกนผมออกทั้งหมดก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกลางกะโหลกศีรษะเด็กซึ่งจะเรียกกันว่า “ขวัญ” นั้นยังบอบบางจำเป็นต้องมีสิ่งปกปิดป้องกันอันตราย จึงโกนเฉพาะส่วนอื่น ๆ แล้วปล่อยส่วนกลางกระหม่อมเอาไว้ จนอายุ ๑๑-๑๓ ปี […]

nattapaty

September 9, 2020
1 6 7