โยนเถ่

 เครื่องเขิน คือหนึ่งในงานหัตถกรรมที่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียอาคเนย์ ในอดีตเครื่องเขินมีสถานภาพเป็นทั้งของใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในพิธีกรรม ตลอดจนรูปเคารพและงานศิลปกรรม เครื่องเขินมีโครงสร้างจากไม้และที่นิยมมากที่สุดคือ โครงสร้างจากไม้ไผ่ ซึ่งช่วยให้ของใช้นั้นมีน้ำหนักเบา หลักการของเครื่องเขินคือนำเครื่องจักสานมาเคลือบด้วยยางไม้ชนิดหนึ่งที่มีสีดำ ซึ่งเรียกกันว่า ยางรัก ภาชนะใช้สอยเมื่อเคลือบยางรักและตกแต่งผิวให้สวยงามด้วยวิธีการต่างๆ เสร็จแล้วจึงเรียกว่า เครื่องเขิน รูปร่างรูปทรงของเครื่องเขิน มักจะเลียนแบบจากธรรมชาติ โดยเอื้อประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งรูปทรงเหล่านี้มักจะเลียนแบบจากพืชพรรณไม้ รูปทรงจากสัตว์ รูปทรงกระบอก ทรงกลม ทรงเรขาคณิต รูปรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม รวมถึงรูปทรงที่ช่างคิดสร้างสรรค์ ทั้งลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายบัว ลานรักร้อย ลายประจำยาม ลายก้านขด ลายธรรมชาติ ตลอดจนภาพนิทานชาดก และลายสิบสองราศี ส่วนเครื่องเขิน ในประเทศไทย พบมากทางล้านนา หรือทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเชื่อว่าเครื่องเขินไม่ได้เริ่มมีในสังคมล้านนาช่วงฟื้นฟูเชียงใหม่ “ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ที่ทำการกวาดตอนไทเขินจากลุ่มน้ำแม่ขึน เมืองเชียงตุง แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในล้านนาก่อนหน้าที่พม่าจะเข้ามายึดล้านนา ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารพม่าว่า เมื่อพม่ายึดครองเมืองเชียงใหม่ได้กวาดต้อนชาวเชียงใหม่และช่างฝีมือไปไว้ที่เมืองพม่าหลายครั้ง โดยช่างฝีมือหรือชาวเชียงใหม่ที่ถูกกวาดต้อนได้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ด้วยรัก เรียกว่า “โยนเถ่” แปลว่าเครื่องยวน หรือเครื่องที่ประดิษฐ์โดยชาวยวน […]

nattapaty

March 30, 2023

“สีอินจี” ไม่ใช่ “ลิ้นจี่” แล้วอินจีคืออะไร? มาจากไหน?

รู้หรือไม่!? สีลิ้นจี่ที่เราได้ยินกัน ไม่ได้มาจากผลไม้ลิ้นจี่นะ เคยสงสัยกันไหมว่า สีโบราณแต่ละสีมีที่มาอย่างไร วันนี้เราจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับสีที่เราคุ้นหูและปรากฎในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่รู้ว่าที่มามันมาจากไหน ไปอ่านกันเลย -สีลิ้นจี่ หรือสีลิ้นจี่เป็นสีแดงธรรมชาติที่ใช้ทาปากในสมัยโบราณและงิ้วใช้แต่งหน้าให้เป็นสีแดง สูตรทางเคมีเป็นกรดคาร์มินิกที่เกิดสารเชิงซ้อนกับอะลูมิเนียม ได้จาก “แมลงอินจี” เพศเมียที่มีตัวอ่อนอยู่ในท้อง นำแมลงตัวเมียมาอบให้แห้ง จะได้เม็ดเล็ก ๆ สีเงิน เมื่อนำมาบดจะได้สีแดง เรียกชาดลิ้นจี่ –สีโศก ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร มีดอกขึ้นเป็นพุ่มสีแสดออกแดง ส่วนสีโศกได้มาจากการเลียนสีของใบโศกแยกเป็นโศกใบอ่อนสีเขียวอ่อนซีดๆจืดๆก็ได้ หรือไล่สีเป็นสีเขียวอ่อนที่เข้มขึ้นมาอีกนิดแบบโศกใบแก่ขึ้นมาหน่อยก็ได้เช่นกัน  -สีแสด(ดอกคำแสด) ได้มาจากการนำผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลาย ๆ วัน จนสารสีตกตะกอน จากนั้นนำไปคี่ยวและตากแดดจนแห้ง บดละเอียดทำเป็นผงใช้ผสมน้ำต้มย้อมผ้าจะได้สีส้มสว่าง ผ้าที่ย้อมจากสีดอกคำแสดมีทนต่อเหงื่อ การซัก แต่หากถูกแสงแดดบ่อยครั้งจะทำให้สีซีดลง -สีคราม คนสมัยโบราณนิยมนำกิ่งครามทั้งใบมาแช่น้ำด่าง เพื่อหมักเอาน้ำครามมาย้อมผ้าหลังจากที่น้ำหมักครามทำปฎิกิริยากับออกซิเจน สีที่ได้คือสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า สีคราม นั่นเอง แต่ต้องย้อมซ้ำหลายครั้ง ครั้งแรก ๆ จะได้เป็นสีครามเข้ม -สีเขียวใบแค เป็นสีไทยที่อยู่ในหมวดสีเขียว เป็นสีที่ปรุงมาจากใบต้นแค โดยเลือกใบที่แก่จัดๆนำมาบดหรือตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาหมักหรือต้มย้อมผ้าแล้วตากให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียดอีกรอบ […]

nattapaty

September 30, 2022

เครื่องแก้วสีเขียวโบราณ

ตอนเด็ก ๆ เคยเห็นแก้วสีเขียวสด ๆ ที่คุณทวด คุณย่า คุณยาย ใช้กันเป็นผอบ หรือตลับแป้งกันไหม แล้วทราบหรือไม่ว่ามันเป็นแก้วเรืองแสง ถามต่อว่าทำไมเรืองแสง ก็เพราะมันเป็น แก้วที่ทำจากแร่ยูเรเนียม Uranium Glass /Vaseline Glass เครื่องแก้วสีเขียวโบราณ วงการนักสะสมของเก่าของโบราณ คงคุ้นตากับเครื่องแก้วสีสันสะดุดตา จะเขียวก็ไม่เชิงจะเหลืองก็ไม่ใช่ สีก้ำกึ่งระหว่างเหลือบ ๆ เขียวอมเหลือง เหมือนสีของใบตอง จึงมันถูกเทียบกันไว้ให้เข้าใจกันได้ว่า เครื่องแก้วเหล่านี้ได้รับความนิยมมากในช่วงรัชกาลที่๕ หลัก ๆ เป็นข้าวของเครื่องใช้บนโต๊ะเครื่องแป้งของเหล่าคุณยาย หรือคันช่องส่องหน้า เป็นขวดน้ำอบ กระปุกแป้งเม็ด โถ่ใส่น้ำมันตานี หรือเป็นข้าวของเครื่องใช้เป็นพวกภาชนะใส่อาหาร เป็นชามหรือจานรวมไปถึงขวดใส่น้ำดื่มก็มีพบเจอเช่นกัน สีของเครื่องแก้วเหล่านี้ เป็นสีที่เกิดจากขั้นตอนการหล่อผลิตขึ้นรูปขึ้นมา มีการใส่แร่ยูเรเนียนลงไปในขั้นตอนการผลิต สีที่ออกมาในเนื้อแก้วจึงเป็นสีออกเหลือบ ๆ ระหว่างสีเหลืองแกมเขียว สีงามแปลกตา สะท้อนเล่นแสงไฟไปตามการกระทบของแสง บางช่วงเป็นสีเขียวแสงบางช่วงสะท้อนให้เห็นสีเหลืองเหลือบสะท้อนออกมา สะกดให้นักสะสมและนิยมเล่นงานแก้วโบราณ ต่างเสาะหามาสะสม ปัจจุบันจัดเป็นของเล่นของนักสะสมของเก่า ราคาแรงตามสภาพ ถ้าสภาพสวยสมบูรณ์ ยิ่งมีราคาแรงมากขึ้นไป ปัจจุบันยังไม่พบการทำลอกเลียนแบบขึ้นมา ด้วยการทำสีให้ได้แบบงานโบราณ คงไม่ใช่เรื่องง่าย การใส่แร่ยูเรเนียมลงไปถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของงานเครื่องแก้วสี […]

nattapaty

August 23, 2022

Picture Frames

Whether it’s a picture from your Thai experience or wedding, a piece for your next memories, or one of life’s cherished moments, we’re here to make it last a lifetime. Frame pattern Determined to delivery the truly Thai authentic experience through inner spirit of service, created special moment last forever as a Thailand’s memory “มุ่งมั่นส่งมอบประสบการณ์ความเป็นไทยที่แท้จริง […]

nattapaty

November 11, 2021

Kab-Kum

“Kab-Kum’ is a ceremonial attire of the royalties of the Mandalay Dynasty (nowadays Myanmar). The attire was also being used as a contribution to the royal families of the colonies. The gifting of Kab-Kum is not merely the cultural distribution but the symbol of power and unity over the territories under the colonies. Kab-Kum attire […]

nattapaty

October 20, 2021

The bottom-wear of the royalties

Record revealed in the royal law in regards the bottom-wear of the royalties to which brought attention to the study of historical attire and garment in Siamese era was the phrase ‘ขนองกั้นเกนสนับเพลา (Ka-Nong-Kan-Ken-Sanub-Plaw), the literal words themselves are not to have any understandable meaning, hence the need to decode each of the words and the […]

nattapaty

October 20, 2021

ผ้าหนามขนุน (ชิโบริ)

ผ้าหนามขนุน เป็นผ้ามัดย้อมจากญี่ปุ่นและอินเดีย มีลายปมเหมือนหนามขนุน ใช้เป็นผ้าคาดเอวขุนนาง ทำโดยการนำผ้าแพรบาง ๆ ผ้าไหม หรือผ้าอื่น ๆ มามัดด้วยเชือกเส้นเล็ก ๆ กับวัสดุปลายแหลม บางแห่งจะนำไปอังไฟร้อน ๆ เพื่อให้เกิดปุ่มนูนขึ้น นอกจากจะมีการมัดแล้วยังย้อมทับด้วยสีเพิ่มไปอีก จึงทำให้เกิดเป็นหนามคล้ายหนามของผลขนุน จึงเรียกผ้าชนิดนี้ว่า “ผ้าหนามขนุน” นอกจากนี้ยังมีลวดลายที่เกิดจากการเย็บและรูดการพับด้วยผ้าที่ย้อมด้วยเทคนิคชิโบรินั้นเป็นงานที่ละเอียดอ่อน ประณีตและมักมีการใช้เทคนิคการปักเข้าร่วมด้วย ความซับซ้อนของลวดลายนั้น นอกจากทำเป็นลายธรรมดา ตารางหนามขนุนแล้ว ยังมีลวดลายอื่น ๆ ที่แสดงถึงความสามารถของช่างมัด เช่น ลายใบไม้ ลายดอกไม้ ลายคลื่น ลายเกล็ดปลา ลายข้าวหลามตัด ฯลฯ ผ้าหนามขนุนที่ได้จากญี่ปุ่น จะมีความละเอียดมากกว่าผ้าหนามขนุนที่ได้จากอินเดีย ซึ่งมีลักษณะลายที่ใหญ่กว่า และผ้าหนามขนุนเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ผูกขาดการค้าโดยราชสำนักสยาม เพื่อพระราชทานให้กับข้าราชบริพาร และขายให้กับคหบดี ที่มีกำลังทรัพย์ในการซื้อหามาสวมใส่ นอกจากใช้เป็นผ้าเกี้ยวแล้ว ยังใช้เป็นผ้าห่ม ผ้าคลุม เป็นต้น ส่วนลักษณะผ้าเกี้ยว คือ การนำไปคาดเอว ในราชสำนักสยาม นิยมเกี้ยวทับโจงกระเบน ด้านนอกเสื้อ (ลายอย่างน้อยหรือลายอย่างใหญ่ หรือเสื้อชนิดอื่น ๆ) […]

nattapaty

October 6, 2021

เครื่องเบญจรงค์

การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่า เป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยในอดีตใช้การสั่งทำที่ประเทศจีนจีน แต่ลวดลายสีสันเป็นไทย ฝีมือเขียนของช่างไทย ฉะนั้นลักษณะของเครื่องถ้วยเบญจรงค์จึงมีความงามอย่างไทยยิ่งกว่าเครื่องถ้วยประเภทอื่น ๆ แม้แต่สังคโลกซึ่งเป็นของไทยเอง ก็ยังไม่แสดงเอกลักษณ์ไทยเท่ากับเครื่องถ้วยเบญจรงค์ จัดเป็นเครื่องถ้วยฝีมือชั้นสูง เป็นของราชสำนักในวังเจ้านาย และบ้านขุนนางชั้นสูง ไม่ใช่สำหรับจัดจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ต้นกำเนิดของเครื่องเบญจรงค์ใช้สีวาดระบายเพียง 3 สี ต่อมาได้พัฒนาเป็น 5 สี คือ สีขาว สีเหลือง สีดำ สีแดง และสีเขียว ( คราม ) จึงเรียกว่า “ เบญจรงค์ ” ซึ่งหมายถึง เครื่องเคลือบที่มีการวาดสีลงไป 5 สี ปัจจุบันมีการใช้สีมากกว่า 30 สี เครื่องเบญจรงค์มีการออกแบบลวดลายต่าง ๆ ด้วยการวาดสี 5 สี ลวดลายที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพพนม ลายนรสิงห์ รวมถึงลายดอกไม้ ลายสัตว์ และลวดลายจากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น ลวดลายที่วาดลงในเครื่องเบญจรงค์ จะสะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน […]

nattapaty

October 1, 2021
1 2 5