
เครื่องเบญจรงค์
การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่า เป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยในอดีตใช้การสั่งทำที่ประเทศจีนจีน แต่ลวดลายสีสันเป็นไทย ฝีมือเขียนของช่างไทย ฉะนั้นลักษณะของเครื่องถ้วยเบญจรงค์จึงมีความงามอย่างไทยยิ่งกว่าเครื่องถ้วยประเภทอื่น ๆ แม้แต่สังคโลกซึ่งเป็นของไทยเอง ก็ยังไม่แสดงเอกลักษณ์ไทยเท่ากับเครื่องถ้วยเบญจรงค์ จัดเป็นเครื่องถ้วยฝีมือชั้นสูง

เสื้อกาบคำ
“เสื้อกาบคำ” เป็นเครื่องแต่งกายในวาระพิเศษของกษัตริย์แห่งราชสำนักมัณฑะเลย์ นอกจากนี้ยังเป็นชุดที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยศแก่เจ้าฟ้า มหาเทวี เมืองเชียงตุงและไทยใหญ่ รวมถึงหัวเมืองประเทศราชและรัฐในปกครองทั้งหลาย ที่ได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายเพื่อขอสวามิภักดิ์ ซึ่งการมอบ ชุดกาบคำ ให้ในลักษณะนี้นอกจากจะเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมการแต่งกายแล้ว ยังเป็นเหมือนการส่งมอบสัญลักษณ์ให้คนในปกครองได้ใช้ร่วมกัน

คลุมปัก เครื่องใช้ในราชสำนัก
คลุมปัก หรือ คลุมปิด หมายถึง วัตถุทำด้วยผ้า มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย มียอดแหลม ที่ปลายแหลมมีพู่ ทำด้วยผ้าปักสำหรับครอบปากพานที่เชิดเครื่องราชูปโภค อันเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศ

เสื้อในราชสำนัก
การสวมเสื้อเป็นเรื่องพิเศษในยุคนั้น ผู้ที่ส่วมเสื้อมักได้แก่พระมหากษัตริย์ ขุนนาง ทหาร ซึ่งต้องอยู่ในพระราชพิธีหรือออกรบ เสื้อผ้าที่ใช้ในงานพระราชพิธีและโอกาสต่าง ๆ มีชื่อปรากฎเป็นหลักฐานว่ายังมีใช้มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ เสื้อเยียรบับ

การแต่งกายท่อนล่างของชาวสยาม
ในกฎมณเฑียรบาลที่ว่าด้วยเครื่องแต่งพระองค์ท่อนล่าง มีอยู่ประโยคหนึ่งที่ควรแก่การศึกษา ประโยคนั้นความว่า “ขนองกั้นเกนสนับเพลา” ภาษาในกฎมณเฑียรบาลนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ตรัสว่าเป็นภาษาไทยข้างเหนือ คือภาษาเงี้ยวเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงไม่แปลกอันใดในการที่จะอ่านไม่เข้าใจในปัจจุบัน เพราะถึงเป็นภาษาไทยเก่าก็ยังยากแล้ว ด้วยเหตุที่ท่านเขียนสั้นเขียนห้วน

81 ลวดลายบนผืนผ้าสำหรับนุ่งห่มชุดไทย
ทำความรู้จักลวดลายบนผืนผ้า และประเภทของผืนผ้าที่มีความสวยงาม สำหรับการนุ่งห่มชุดไทย ที่ไทยสไตล์สตูดิโอสะสมและอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จัก โดยเฉพาะคนรักชุดไทยไม่ควรพลาด 1.ผ้าลายอย่าง คือผ้าในราชสำนักสยาม มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา โดยคำว่าผ้าลายอย่างนั้น หมายถึงผ้าที่ทางราชสำนักสยามทำการผูกลายหรือที่เรียกการเขียนลายส่งเป็นแบบแผนไปให้ทางต่างประเทศผลิต

คันฉ่อง กระจกเงาโบราณ
คนสมัยก่อน เวลาจะดูเงาของตนก็ดูในน้ำ แต่น้ำนั้นต้องเป็นน้ำนิ่ง ๆ เช่น น้ำในบ่อ ถ้าบ่ออยู่ไกลไม่สะดวกก็ตักน้ำใส่กะโหลก (กะโหลก คือ กะลามะพร้าวอย่างใหญ่เฉาะสูงไม่ผ่าครึ่ง)