How to wear Thai costume (Part I – Shawl like a Thai) Notes: There is no clear-cut manner of shawl wearing. It could be wrapped over one’s body on the right or on the left. Totally depends on the comfort of the wearer. In the old days, people usually wore the shawl over the side […]
nattapaty December 22, 2020 How to wear Thai costume (Part II – Sapak Shawl) The history of Sapak, or outer shawl-wearing has been a popular fashion in the royal court, dating back to Ayutthaya Dynasty. With its elegant and meticulous characteristic, Sapak shawl was then not just a finery, but a social status indicator and the dresscode for noblewomen […]
nattapaty December 22, 2020 How to wear Thai costume (Part III – Sarong/Loincloths – Jeeb Wai Chai Phok) This certain style of bottomwear – Jeeb Wai Chai Phok has 2 main steps: 1. Making the hems (Chai Phok) and 2. Styling the front pleat (Jeeb Nha) Making the hems (Chai Phok) Note : Chai Pok usually styled on the […]
nattapaty December 22, 2020 How to wear Thai costume (Part IV – Tucked Loincloth /Jong Kraben) Jong Kraben is one of the popular fashions for the bottom wear. Jong, in Thai, means to tie or to pull. Kraben, originally a Khmer word, means tails. Putting them together, Jong kraben then means the way fabric was rolled up and tucked […]
nattapaty December 22, 2020
ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นระยะที่บ้านเมืองกำลังฟื้นตัวจากสภาวะสงครามสงครามเเละสร้างเมืองใหม่ ชาวสยามในสมัยนั้นยังคงสืบทอดชีวิตความเป็นอยู่มาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่ว่าจะเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี กฏหมาย การปกครอง โดยเฉพาะ “การแต่งกาย” โดยทั่วไปแล้วทั้งชายและหญิงนุ่งผ้าและห่มผ้ากันเป็นหลัก กล่าวคือ นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้า ไม่นิยมสวมเสื้อ กระบวนแห่พยุหยาตรา สมัยอยุธยาตอนปลาย จิตรกรสมัยร.๕ วาดจำลองจากวัดยม จ.พระนครศรีอยุธยา ลงในสมุดข่อย (ภาพจาก “การแต่งกายของไทย”, ๒๕๓๒) เอกสารของ เฮนรี่ เบอร์นี่ ครั้งเป็นราชทูตอังกฤษเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้บันทึกถึงฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์และขุนนางในขบวนแห่รับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง มีความว่า “ข้าพเจ้าก็มองเห็นพระองค์ท่านกับวังหน้า ฉลองพระองค์แบบธรรมดาคือมีผ้าพันรอบกายเพียงชั้นเดียว” ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ (Henry Burney)ขอบคุณภาพจากhttps://www.findagrave.com และมีอีกครั้งหนึ่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ ไปเยี่ยมพระยาวิเศษที่บ้าน มีความว่า “ท่านเป็นคนตัวใหญ่ ผิวดำ อายุประมาณ ๓๘ ปี และเวลาอยู่บ้าน ท่านมักจะไม่ใส่อะไรเลยนอกจากผ้าขาวม้า มาสดราสพันรอบตัว” เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ สนธิสัญญาระหว่างสยามและอังกฤษ ขอบคุณภาพจาก Facebook page กรุงเก่าของชาวสยาม จากบันทึกของชาวต่างชาติดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงลักษณะการแต่งกายของขุนนางในสมัยรัตนโกสินทร์ […]
nattapaty November 18, 2020 หมายเหตุ การห่มสไบไม่มีแบบแผนชัดเจนว่าจะต้องห่มด้านขวา หรือ ด้านซ้าย ของตัวผู้นุ่ง หากแต่เป็นไปตามความถนัดของผู้นุ่งผ้า โดยคนโบราณนิยมนุ่งห่มผ้าสไบด้านตรงข้ามกับฝั่งที่แขนตนถนัด เพื่อสะดวกต่อการหยิบจับสิ่งของ และการใช้งานในชีวิตประจำวัน TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE >>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<< เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”
nattapaty October 20, 2020 โจงกระเบน เป็นรูปแบบการนุ่งผ้าประเภทหนึ่งโดย คำว่า โจง หมายถึง การโยง จูงไป กระเบน หมายถึง หาง ซึ่งเป็นคำไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเขมรอีกทีหนึ่ง การนุ่งโจงกระเบน จึงหมายถึง “การนุ่งผ้าด้วยวิธีการม้วนชายผ้านุ่งไปเก็บไว้ด้านหลัง” การนุ่งโจงกระเบนยังแบ่งแยกรูปแบบได้อีกหลายประเภท ได้แก่ การนุ่งโจงหางหนู โจงกระเบนคอไก่ การนุ่งโจงหางหงส์ โจงกระเบนแบบมีชายพก โจงกระเบนชักชายสะบัด เป็นต้น ซึ่งในที่นี้เราจะสอนวิธีการนุ่งโจงหางหนูอันเป็นรูปแบบหนึ่งที่ชาวไทยนิยมกัน หมายเหตุ การสอดหางโจงกระเบนเก็บนั้น จำเป็นที่จะต้องสอดเก็บให้เป็นระเบียบและเรียบแบนที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดเป็นกระจุกผ้าอัดเป็นชั้นอยู่บริเวณด้านหลังที่เราทำการเหน็บหางกระเบน เพราะจะทำให้เวลานั่งไม่สะดวก และเกิดการเจ็บบริเวณก้นกก ที่คนสมัยก่อนเรียกว่า “เจ็บเหน็บกระเบน” อีกทั้งยังทำให้รูปทรงของโจงกระเบนไม่สง่างามแก่ผู้นุ่งอีกด้วย TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE >>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<< เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”
nattapaty October 20, 2020 การห่มผ้าสะพักปรากฏหลักฐานการนุ่งมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา โดยปรากฎหลักฐานการนุ่งบัญญัติไว้ในธรรมเนียมการแต่งกายของราชสำนัก เช่น “พระมเหสีทรงนุ่งยกห่มผ้าตาดทอง” “ฉลองพระองค์ทรงสะพักปักปีกแมลงทับ” อีกทั้งการห่มผ้าสะพักยังเป็นเครื่องบ่งบอกฐานานุศักดิ์ของผู้นุ่งผ้า และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับการนุ่งห่มผ้า ในระดับพิธีการของเขตพระราชฐานสำหรับเจ้านายฝ่ายใน และสตรีชั้นสูงในราชสำนักอยุธยาอีกด้วย ทั้งนี้การนุ่งห่มผ้าสะพักเองยังส่งอิทธิพลผลต่อพัฒนาการนุ่งห่มสไบแบบสองชั้นในเวลาต่อมา เพื่อความเรียบร้อย และเพื่อเป็นการปกปิดเรือนร่างของสตรีชาวสยามให้มิดชิดและเหมาะสมในโอกาสต่าง ๆ วิธีการนุ่งห่มผ้าสะพัก TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE >>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<< เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”
nattapaty October 20, 2020 การนุ่งจีบไว้ชายพก ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่ การทำชายพก และ การนุ่งจีบหน้า วิธีการทำชายพก หมายเหตุ : ชายพกควรอยู่ฝั่งตรงข้ามกับชายสไบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางองค์ประกอบการแต่งกายแก่ผู้นุ่งไม่ให้เอนเอียง มีน้ำหนักมากค่อนไปทางใดทางหนึ่ง วิธีการทำนุ่งจีบหน้า หมายเหตุ : หากบริเวณชายของจีบหน้าหรือชายพกที่เราพับไว้คลายตัวหรือไม่เป็นชั้นสวยงาม สามารถนำด้าย มาเนาจีบหน้าและชายพกเอาไว้ได้ ทั้งนี้การทิ้งตัวที่สวยงาม และการพับทบจีบหน้าอย่างเป็นระเบียบจะทำให้จีบหน้า และชายพกมีความสวยงามยิ่งขึ้น TRULY THAI AUTHENTIC YOU CAN BE >>ติดตามเรื่องราวความเป็นไทยอย่างใกล้ชิดที่ Thai Style Studio<< เพราะเราเชื่อว่า “มากกว่าความรู้สึก คือ การได้สัมผัสประสบการณ์ความเป็นไทยด้วยตัวคุณเอง”
nattapaty October 20, 2020
เสื้อครุยมาจากไหน การสวมใส่เสื้อครุยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณในหลายประเทศ ทั้งในแถบเอเชียและยุโรป สำหรับในประเทศไทยมีหลักฐานว่า พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานฉลองพระองค์ครุยหรือเสื้อครุย เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศหรือเครื่องยศในหมวดภูษณาภรณ์ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง หรือข้าราชการ ที่ทำความดีความชอบในราชการแผ่นดินมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชุดครุยใช้สวมใส่เมื่อเข้าร่วมในงานพระราชพิธีที่สำคัญ เพื่อเป็นการแสดงบรรดาศักดิ์และตำแหน่งของผู้สวมใส่ ซึ่งขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์สูงจะได้รับพระราชทานเสื้อครุยที่ปักงดงามวิจิตรบรรจง ภาพตัวอย่างเสื้อครุยจำลอง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลรัตน์ กรมหมื่นอลงกฏกิจปรีชาฉลองพระองค์ครุย ขอบคุณภาพจาก นายจอห์น ทอมสัน ลอมพอก เป็นหมวกสำหรับขุนนาง เรียกว่า พอกหรือพอกเกี้ยว เป็นเครื่องแต่งกายชนิดหนึ่งที่ช่วยกำหนดลำดับชั้นยศของขุนนาง เป็นหมวกมียอดคล้ายชฎา ขอบหมวกมีสมรดสีเหลืองหรือดิ้นทองคาดเพื่อความสวยงาม เหนือสมรดขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งมีเกี้ยวเป็นรูปวงกลม ประดับด้วยดอกไม้ไหวทองคำ มีปลายแหลม ภาพตัวอย่างลอมพอก ภาพตัวอย่างลอมพอก ภาพตัวอย่างลอมพอก ลอมพอกในสายตาของชาวต่างชาติอย่าง ลา ลูแบร์ ภาพวาดขุนนางชาวสยาม ในสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่า เริ่มแรกลอมพอกใช้สวมครอบมวยผม จึงมีรูปร่างสูงแต่ปลายทู่หรือปลายอวบกว่าในสมัยต่อมา อ้างอิงจากรูปจิตรกรรมฝาผนังในวัดต่าง ๆ ที่ยังคงปรากฎหลักฐานอยู่ อาทิ ภาพขบวนพายุหมาตราทางสถลมารคที่วัดยม และ วัดไชยทิศ อันเนื่องจากในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง ผู้คนนิยมไว้ผมยาวทั้งชาย และหญิง โดยนิยมมุ่นผมเป็นมวยเหนือศรีษะ ที่เรียก โซงขโดงฤๅโองขโดง หรือ […]
nattapaty September 12, 2020